พระชัยวัฒน์รัชกาล หูคน เนื้อเงิน

พระชัยวัฒน์รัชกาล หูคน เนื้อเงิน เป็นพระที่สร้างประจำตระกูลในยุคสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อรัชกาลที่ 5 โดยศิลปะเป็นแบบหูคน ในการสร้างพระชัยประจำรัชกาลเริ่มเผยแพร่สู่พระบรมวงศานุวงศ์ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ จึงมีการสร้างพระประจำตัวกันอย่างแพร่หลาย แต่ก็พยายามหลีกเลี่ยงมิให้ไปมีพุทธลักษณะใกล้เคียงกับพระชัยประจำรัชกาลขององค์พระมหากษัตริย์ด้วยเป็นการไม่สมควร

พระชัยวัฒน์รัชกาล หูคน สมัยรัชกาลที่ 4 ต่อรัชกาลที่ 5 ที่เรียกเช่นนี้ก็เพราะว่า ในการหล่อพระพุทธปฏิมากรทั่วๆ ไปมักจะกำหนดให้พระกรรณ (หู) ของพระพุทธรูปยาวกว่าปกติ ถือว่าเป็นผู้มีบุญอายุยืนยาว แต่สำหรับพระชัยวัฒน์พิมพ์นี้ พระกรรณ
(หู) ไม่ยาวมาก มีลักษณะเหมือนกับหูคนธรรมดาทั่วไปจึงเรียกว่าพระชัยวัฒน์ หูคน

พระองค์นี้สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นยุคแรกที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบพระกรรณ (หู) โดยเป็นพระหล่อและตกแต่งอย่างงดงามด้วยฝีมือของช่างชั้นสูง ซึ่งแต่งได้ละเอียดงดงามมากๆ ท่านที่บูชาจะมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองและชัยชนะซึ่งเป็นศิริมงคลต่อตนเองและวงศ์ตระกูล

- ความสูง 3 เซนติเมตร, หน้าตักกว้าง 1.5 เซนติเมตร
- อายุการสร้าง : 100-200 ปี
- เนื้อพระ : เนื้อเงิน

 

Visitors: 382,433