เหรียญพระอาจารย์ฝั้น รุ่น 2 บล็อคน้ำกลวง เนื้อทองแดง วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร ปี 2507


ลักษณะเหรียญ

เป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง 

 ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ฝั้นครึ่งองค์หันหน้าด้านข้าง ด้านโค้งขอบล่างใต้รูปเหมือนเขียนคำว่า พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร 

 ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปยันต์อักขระโบราณ ด้านโค้งขอบบนเขียนคำว่า วัดบ้านหัวช้าง สกลนคร ด้านโค้งขอบล่างเขียนคำว่า รุ่นสองศิษย์ ทอ.สร้างถวาย ด้านบนยันต์อักขระเขียนคำว่า ที่ระลึกงานสร้างโบสถ์น้ำ ด้านล่างใต้ยันต์อักขระเขียนว่า ๒๕๐๗ 

โดยบล็อคน้ำกลวง สังเกตุได้ที่คำว่าน้ำจะโดยตรงสระอำจะมีรู (จากคำว่าที่ระลึกงานสร้างโบสถ์น้ำ) หากเป็นบล็อคน้ำตันคำว่าน้ำจะไม่มีรู สระอำจะปิดทึบ


วัตถุมงคลพระอาจารย์ฝั้นทุกรุ่น มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้าน โดยเฉพาะ แคล้วคลาด ปลอดภัย และเมตตามหานิยม จนเป็นที่เลื่องลือกันอย่างกว้างขวาง เป็นที่นิยมและแสวงหาอย่างสูงในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญคณาจารย์ และหายากยิ่งในปัจจุบัน ค่าความนิยมของวัตถุมงคลของอาจารย์ฝั้นนั้นมีตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักแสน ตามอายุการจัดสร้าง ความโดดเด่นของรูปแบบ เจตนาผู้สร้างถวาย จำนวนเหรียญ และประสบการณ์


อัตโนประวัติของ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร 

ท่านเป็นชาวสกลนครโดยกำเนิด เกิดที่บ้านม่วงไข่ ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2442 ในตระกูลของ “สุวรรณรงค์” เจ้าเมืองพรรณานิคม บรรพชาเป็นสามเณร ที่ วัดโพนทอง เมื่อปี พ.ศ.2461 ขณะอายุได้ 19 ปี พออายุครบบวชจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่ วัดสิทธิบังคม บ้านไฮ่ ต.ไร่ อ.พรรณานิคม ศึกษาร่ำเรียนพระปริยัติธรรมและวิปัสสนากรรมฐานกับ ท่านอาญาครูธรรม เจ้าอาวาสวัดโพนทอง และติดตามพระอาจารย์ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ด้วยจิตมุ่งมั่นในการบำเพ็ญภาวนาและเจริญวิปัสสนากรรมฐานอย่างแรงกล้า ปี พ.ศ.2463 พระอาจารย์ฝั้น ได้พบ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และขอปวารณาตนเป็นศิษย์เพื่อศึกษาวิชาความรู้และหลักธรรมต่างๆ โดยเฉพาะด้านวิปัสสนากรรมฐาน ในปี พ.ศ.2468 จึงขอแปรญัตติจากมหานิกายเป็น ‘ธรรมยุติกนิกาย’ ที่ พระอุโบสถวัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี โดยมี พระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากนั้นก็ร่วมออกธุดงค์กับพระอาจารย์มั่นไปตามสถานที่ต่างๆ เป็นเนืองนิตย์

Visitors: 382,403