พระวัดรังษี พิมพ์ใหญ่ ห้าเหลี่ยมสมาธิ

พระวัดรังษี พิมพ์ใหญ่ห้าเหลี่ยมสมาธิ ผู้สร้างพระผง วัดรังษีสุทธาวาส พระธรรมกิติ (แจ้ง) เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๔ ของวัดรังษีสุทธาวาสท่านเป็นพระเกจิชื่อดังยุคเดียวกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โตพรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตารามผลงานสำคัญของพระธรรมกิติ (แจ้ง) ที่ยังเป็นมรดกตกทอดมาถึงปัจจุบันและสร้างชื่อเสียงให้แก่ท่านอย่างมากคือการสร้างพระเครื่องเนื้อผงที่รู้จักกันในชื่อว่าพระผงวัดรังษี

 

พระผงวัดรังษีสุทธาวาสสร้างขึ้นราว..2437- ..2439 จากเอกสารการโปรดเกล้าฯให้วัดรังษีสุทธาวาสขึ้นกับวัดบวรนิเวศวิหารในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นหลักฐานว่าในช่วงปีพ..2442 พระธรรมกิติ (แจ้ง) ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดรังสีสุทธาวาสอยู่แล้ว ,พระผงวัดรังษีมีทั้งหมด 4 พิมพ์ คือ

-พิมพ์ใหญ่เนื้อผงดำลงรักล่องชาดปิดทองหลังกดตรายันต์

-พิมพ์ใหญ่เนื้อผงขาว

-พิมพ์กลางเนื้อผงขาวศิลปะหน้าตักจะเหมือนเลข 8 แนวนอน

-พิมพ์เล็กเนื้อผงขาวศิลปะหน้าตักเหมือนเลข 8 แนวนอน

นอกจากนี้พระผงวัดรังษีเนื้อผงขาวทั้ง 3 พิม์คือพิมพ์ใหญ่พิมพ์กลางและพิมพ์เล็กนั้นมีทั้งชนิดปิดทองและไม่ปิดทอง

 

"ฉายามีพระวัดรังษีชีวีไม่วอดวายได้มาจากประสบการณ์ของพระที่มีมาเป็นร้อยปีพุทธคุณดีเด่นดังขนาดเอาสมเด็จวัดระฆังมาแลกยังไม่มีใครแลจัดเป็นพระเนื้อผงยอดนิยมตลอดกาลปัจจุบันหายากและมีราคาแพงมากโดยเฉพาะพิมพ์ใหญ่ต้องว่ากันที่หกหลักแต่นอกจากพิมพ์ใหญ่แล้วยังมีพิมพ์กลางและพิมพ์เล็กที่ราคายังไม่แรงมากและยังพอหามาบูชากัน

 

มีพระนิพนธ์ที่กล่าวถึงของดีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ว่า " ผู้ใดมีพระวัดรังษีผู้นั้นชีวีไม่วางวาย " เป็นคำบรรยายถึงพุทธคุณของพระวัดรังษีได้อย่างลึกซึ้งด้วยกลอนบทนี้ซึ่งเป็นพระเครื่องที่ยากจะหาคู่เทียบได้ในสมัยนั้น

ปัจจุบันนี้ก็ยังถือว่าเป็นพระเครื่องที่หาชมได้ยากมากองค์ที่นำมาให้ชมเป็นพิมพ์ใหญ่ด้านหลังอูมเป็นหลังเบี้ยมีลอยนิ้วมือด้วยซึ่งในบางองค์ก็ไม่มี

พระวัดรังษีเนื้อผงขาวทุกพิมพ์มีทั้งชนิดปิดทองและไม่ปิดทอง

 เล่ากันว่าวิธีการปิดทององค์พระผงวัดรังษีจะแตกต่างจากพระสมเด็จวัดระฆังฯซึ่งจะนำองค์ของพระเครื่องจุ่มรักก่อนแล้วจึงปิดด้วยทองคำเปลวแต่สำหรับพระผงวัดรังษีใช้ทองคำเปลวปิดลงบนแม่พิมพ์พระเครื่องก่อนแล้วจึงกดพิมพ์เมื่อถอดพระเครื่องออกจากแม่พิมพ์ทองคำเปลวก็จะติดบนพระเครื่องซึ่งวิธีดังกล่าวนี้ทองคำเปลวมักจะติดไม่แน่นเมื่อระยะเวลาผ่านมาถึงปัจจุบันองค์พระเครื่องบางองค์มีทองคำเปลวติดบ้างและหลุดออกไปบ้าง

 

ส่วนเนื้อหามวลสารขององค์พระเครื่องจะแห้งและหดตัวมากทำให้เส้นสายพิมพ์พระปรากฏชัดเจนมากอย่างไรก็ตามแนวทางการพิจารณาพระเครื่องรุ่นนี้ก็ต้องจำภาพรวมลักษณะพิมพ์รวมทั้งเนื้อหามวลสารหากได้เห็นและเปรียบเทียบกับองค์อื่นที่ดูง่ายย่อมเป็นแนวทางในการศึกษาสะสมต่อไป

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google.

Visitors: 342,945