เหรียญงานพระราชพิธีรัชมงคล (ย่อ) ปี พ.ศ.2450 (ร.ศ.126) เนื้อเงิน

เหรียญงานพระราชพิธีรัชมงคล (ย่อ) ปี ..2450 (..126) 

เนื้อเงิน

            เหรียญงานพระราชพิธีรัชมงคล (ย่อ) ปี พ.ศ.2450 (ร.ศ.126) ใช้อักษรย่อ ร.ร.ม. เหรียญราชอิสริยาภรณ์ที่พระราชทานเป็นที่ระลึก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญนี้ขึ้นเมื่อ ร.ศ.126 (พ.ศ.2450) ในวโรกาสที่เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติเป็นปีที่ 40 เสมอด้วยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นรัชกาลที่ยืนยาวกว่าพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดาร โดยมีการตรา “พระราชบัญญัติเหรียญรัชมงคล รัตนโกสินทรศก 126” ขึ้นให้ใช้ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2450 เป็นต้นไป

            สำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ และเข้าทูลละอองธุลีพระบาท ในการพระรสชกุศลรัชมงคล รัตนโกสินทรศก 126 (พ.ศ.2450) โอกาสเดียว ผู้ใดสมควรจะได้รับพระราชทานชนิดใด แล้วแต่จะทรงจะกรุณาโปรดเกล้าฯ ความปรากฎใน “พระราชบัญญัติเหรียญรัชมงคลรัตนโกสินศก ๑๒๖” ตอนหนึ่งว่า 

            “...(พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) มีพระบรมราชโองการตรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่าจำเดิมแต่เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ ในปีมะโรง สัมฤทศก จุลศักราช ๑๒๓๐ นับเรียงปีมาถึงรัตนโกสินทรศก ๑๒๖ นี้ รัชพรรษาพอบรรจบสี่สิบปี เสมอด้วยรัชกาลแห่งสมเด็จพระรามาธิบดีพระองค์ที่ ๒ ซึ่งได้ครอบครองราชสมบัติในกรุงศรีอยุธยา ผู้มีรัชกาลยืนยาวกว่าพระเจ้าแผ่นดินทุกพระองค์ อันมีปรากฎในพงศาวดาร เป็นเหตุให้ทรงปิติเบิกบานพระราชหฤทัย จึงได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในกรุงศรีอยุธยาทรงพระราชอุทิศส่วยพระราชกุศล ถวายสมเด็จพระรามาธิบดีพระองค์นั้น ตามรัชสมัยได้เท่าทันเสมอภาค ยากที่จะเทียมถึง จึงจัดว่าเป็นพระราชกุศลรัชมงคลอันอุดม สมควรจะมีสิ่งซึ่งเป็นที่รฤกถึงบญญาภินิหาร แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้ ให้อยุ่ชั่วกาลนานจึงทรงพระราชดำริห์ให้สร้างเหรียญที่รฤก”

ลักษณะเป็นเหรียญรูปกลมรี ด้านหน้า เป็นรูปพระครุฑพ่าห์ มีพระจุลมงกุฏซ้อนบนอก ด้านหลัง มีอักษรว่า “ที่รฤกรัชกาลที่ ๕ กรุงรัตนโกสินทร เสมอรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ กรุงศรีอยุธยา ร.ศ.๑๒๖” 

เหรียญรัชมงคล มี 3 ชนิด คือ เหรียญทองคำ เหรียญเงินกะไหล่ทอง และเหรียญเงิน สำหรับพระราชทานทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน 

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google.

 

Visitors: 342,957