เหรียญกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เนื้อทองแดง

เหรียญกรมหลวงชุมพร หลวงปู่ทิม ปลุกเสก นั้นมูลเหตุของการสร้างเหรียญคือ
กองพันทหารราบที่ 3 กรมนาวิกโยธิน ต้องจัดหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินขึ้นมาหน่วยหนึ่งมีโค้ดเนมว่า" ฉก.นย.๑๘๑"
โดยมีภารกิจไปปราบปรามเหล่าขบวนการโจรก่อการร้าย 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในช่วงเดือนธันวาคม 2517 ถึง
เดือนเมษายน 2518 โดยได้จัดสร้างเหรียญพระบรมรูปกรมหลวงชุมพรฯ ให้เป็นที่ระลึกกับข้าราชการที่ไปปฏิบัติงาน
ในครั้งนี้.นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพิ่มเติมอีก 3 ข้อ คือ
1. เพื่อจำหน่ายหารายได้เป็นทุนสวัสดิการแก่ทหารนาวิกโยธินที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการปฎิบัติหน้าที่เพื่อประเทศชาติ
2. นำรายได้ส่วนหนึ่งไปบูรณะศาลกรมหลวงชุมพรฯ ณ กระโจมไฟกรมหลวงชุมพรฯบนยอดเขาแหลมปู่เฒ่าในฐานทัพเรือสัตหีบ จ.ชลบุรี
3. รายได้ส่วนหนึ่งนำไปประกอบการกุศลตามความเหมาะสมต่อไป
การจัดสร้างนั้นได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่นายทหารระดับสัญญาบัตรขึ้นควบคุมและเป็นการจัดสร้างเป็นการภายใน เพื่อป้องกันข้อครหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง.
คณะกรรมการได้ขอความเมตตาจากหลวงปู่ทิม อิสริโกให้ปลุกเสกให้ ซึ่งหลวงปู่ก็ตอบรับมาว่า"เต็มใจทำให้ด้วยความยินดี"
คณะกรรมการได้จัดตั้งเครื่องสังเวยชุดใหญ่บวงสรวงดวงพระวิญญาณของเสด็จเตี่ย ณ ศาลกรมหลวงชุมพรฯ บนยอดเขาแหลมปู่เฒ่า เพื่อขออนุญาตทำเหรียญขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2518...จากนั้นเริ่มรวบรวมชนวนมวลสารต่างๆ โดยนำแผ่นทองคำ แผ่นเงิน
พระเกจิลงอัขระปลุกเสกดังมีรายนามดังนี้
1. หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ จ.ระยอง
2. หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก จ.ระยอง
3. หลวงพ่อชื่น วัดมาบข่า จ.ระยอง
4. หลวงปู่เหมือน วัดกำแพง จ.ชลบุรี
5. หลวงพ่อแฟ้ม วัดป่า(อรัญญิกาวาส) จ.ชลบุรี
6. หลวงพ่อทัต วัดช่องแสมสาร จ.ชลบุรี
7. หลวงพ่อแดง วัดเชิงเขา จ.นราธิวาส
8. หลวงพ่อบัว วัดสารวัน จ.ปัตตานี
9. หลวงพ่อชื่น วัดหัวเขา จ.ปัตตานี

นอกจากนี้ยังได้ชนวนอื่นๆอีก
1. ตะกรุดโทน หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย
2. ตะกรุดโทน หลวงพ่อเหลือ วัดเขาชะโงก
3. ตะกรุดโทน หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม จ.ชลบุรี
4. ตะกรุดเก่าไม่ทราบสำนักจากผู้มีจิตศรัทธาจำนวนหลายร้อยดอก
5. ห่วงเหรียญต่างๆหลายร้อยห่วง

เมื่อได้มวลสารทั้งหมดแล้วนำโลหะทั้งหมดมาหลอมแล้วรีดเป็นแผ่นเข้าเครื่องปั๊มโดยมีช่างยิ้ม ยอดเมืองเป็นผู้แกะบล็อค โดยได้ปั๊มเหรียญเพียงเนื้อเดียวเท่านั้น ได้ของเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2518 นับเหรียญทั้งหมดได้ 23,599 เหรียญ แยกออกมาเป็นจำนวน 1,000 เหรียญไปกะไหล่ทองเพื่อมอบให้กับข้าราชการในหน่วย ฉก.นย.๑๘๑ และบรรดาผู้มีอุปการคุณทั้งหมดเป็นกรณีพิเศษ

หลังจากนั้นนำเหรียญทั้งหมดไปให้หลวงปู่ทิมเสกเดี่ยว ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2518 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของเสด็จในกรมฯพอดี
ท่านเมตตาทำให้เต็มที่ถึง 5 วัน ไปขอคืนเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2518 หลังจากนั้นนำเหรียญไปตอกโค้ดรูปตัวเฑาะว์มหาอุด
เหรียญที่ชุบกะไหล่ทอง 1,000 เหรียญตอกโค้ดที่ด้านซ้ายพระองค์ท่าน(ด้านขวามือเราเวลาดูเหรียญ)
ส่วนเหรียญเนื้อทองผสมธรรมดาตอกที่ด้านล่างขององค์ท่าน

หลังจากตอกโค้ดแล้วได้นำไปบวงสรวงดวงพระวิญญาณของเสด็จเตี่ย ณ ศาลกรมหลวงชุมพรฯ บนยอดเขาแหลมปู่เฒ่าโดยตั้งเครื่องสังเวยและราชวัตรฉัตรธงอย่างสมบูรณ์แบบ มีพราหมณ์เป็นผู้ดำเนินการบูชาจนเสร็จพิธี.พอกล่าวบูชาเสร็จก็นำน้ำพระพุทธมนต์มาประพรมเหรียญจนทั่วถึงอีกครั้ง น่าประหลาดตรงที่นับแต่จุดธูปจนเสร็จพิธีการ ธูปดับสนิทในวินาทีสุดท้ายได้ 29 นาทีพอดิบพอดี.

- แจกจ่าย 1,000 เหรียญเป็นข้าราชการดังเกริ่นไว้ และได้ถวายเหรียญหลวงปู่ทิมไว้ 2,000 เหรียญ
และมอบให้กรมนาวิกโยธิน กองทัพเรือสัตหีบ เพื่อหาทุนสวัสดิการกองทัพเรือ 10,000 เหรียญ
นอกจากนั้นจำหน่ายในราคาเหรียญละ 20 บาท ศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่ทิมได้เล่าให้ฟังว่า
เคยได้ยินหลวงปู่ทิมพูดถึงการเสกพระของท่านว่า ใครเอาพระรูปแบบใดมาให้ทำน ท่านก็จะทำตามนั้น
เช่นเอารูปพระพุทธรูป ท่านก็ขอบารมีพระพุทธเจ้า,เอารูปพระพรหมมาก็ขอบารมีพรหม,เอารูปพระเจ้าตากสินมา
ท่านก็เชิญดวงพระวิญญาณพระเจ้าตากมา, เอารูปกรมหลวงชุมพรมา ท่านก็เชิญกรมหลวงมา มาเพื่อร่วมเสก เพื่อร่วมรับทราบ...

Visitors: 382,433