พระหลวงพ่อโชติ พิมพ์หยดแป้ง เนื้อผง

ประวัติพระสมเด็จ พิมพ์หยดแป้ง

ปีที่สร้าง: พ.ศ.2480-2500 

 

ประวัติของหลวงพ่อโชติ  วัดตะโน แขวงบางแวก  เขตภาษีเจริญ  กรุงเทพมหานคร

 

    ท่านเกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ.2417  อุปสมบท ณ วัดกระทุ่ม วันที่11 กรกฎาคม พ.ศ.2451  มรณภาพ

เมื่อวันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2501

 

    ท่านเป็นพระร่วมสมัยกับหลวงปู่โต๊ะที่เราๆท่านๆรู้จักดี ท่านแก่พรรษากว่าหลวงปู่โต๊ะไปมาหาสู่กันเป็นประจำ

หลวงปู่โต๊ะท่านนับถือหลวงพ่อโชติมากอีกทั้งยังได้ร่ำเรียนวิชาทำผงพุทธคุณกับหลวงพ่อโชติ

จะเรียกง่ายๆว่า หลวงปู่โต๊ะเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อโชติก็น่าจะไม่ผิดอะไร

ลพ.โชติเองท่านเคยเป็นนักเลงมาก่อนหลังจากที่ได้ได้ออกบวชก็ไม่สึกอีกเลย

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่านักเลงสมัยก่อนต้องมีวิชาดีไม่อย่างนั้นเป็นนักเลงไม่ได้

 

 พระเครื่องและเครื่องรางของท่าน

 

                   โดยส่วนมากที่พบนอกจากเหรียญรุ่น 1- 2 ของท่านแล้วยังมีเชือกคาดเอวที่ทำจากผ้าห่อศพผีตายโหง  ใช้คาดเอวเพื่อความอยู่ยงคงกระพันแล้วยังใช้เป็นอาวุธในการฟาดศัตรูเพราะหากใครโดนเชือกดังกล่าวฟาดแล้วละก็จะมีอาการเสียสติเลยทีเดียว      เห็นหลายท่านที่มีเชือกดังกล่าวกล่าวกันว่าในวันพระจะมีกลิ่นสาปสางออกจากเชือกคาดดังกล่าว  มีการสร้างตะกรุดเช่นกันแต่สร้างน้อยให้กับศิษย์ที่ใกล้ชิดเท่านั้นหากติดตามมาได้เมื่อใดจะนำมาเผยแพร่ให้ชมครับ และนอกจากนั้นก็จะเป็นพระสมเด็จพิมพ์ต่างๆดังนี้    

 

    1.  พระพิมพ์ใหญ่กลักไม้ขีด

 

   2. พระสมเด็จพิมพ์ขาโต๊ะ  เป็นแม่พิมพ์ตัวเดียวกับสมเด็จขาโต๊ะของหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี  ลพ.โชติเป็นผู้ไปยืมจากหลวงปู่โต๊ะมากดพิมพ์ที่วัด   หลังจากที่ หลวงปู่โต๊ะได้กดพิมพ์ขาโต๊ะไปได้ไม่กี่ร้อยองค์    จำแนกแยกแยะได้เพียงว่าของ ลพ.โชติเป็นเนื้อสีเหลือง  ของหลวงปู่โต๊ะเป็นผงแช่น้ำมนต์  ขอย้ำนะครับว่าเป็นแม่พิมพ์ตัวเดียวกันอย่าเล่นผิดวัดก็แล้วกัน  และหลังจากนั้นแม่พิมพ์ดังกล่าวก็หายสาบสูญไปเป็นที่น่าเสียดายยิ่ง   เพราะเหตุว่าทุกพิมพ์ของหลวงปู่โต๊ะเป็นพิมพ์ที่แกะเองเป็นของวัดแต่พิมพ์ขาโต๊ะ ได้มาจากฆารวาสท่านหนึ่งที่เจอบนขื่อหรือใต้เพดานโบสถ์ของหลวงพ่อโบสถ์น้อย(พระพุทธรูปสักสิทธิ์) แห่งวัดอัมรินทร์ทราราม  เขตบางกอกน้อย   ข้อมูลดังกล่าวคัดลอกมาจากบทความในหนังสือ ภาสรุธรรมฉบับประกาศเกียรติคุณ หลวงปู่โต๊ะ 108 ปี

 

   3.  พระสมเด็จพิมพ์เจ็ดชั้น

 

   4.  พระสมเด็จพิมพ์สามชั้นเศียรฤาษี

 

   5.  พระสมเด็จพิมพ์เม็ดบัว

 

   6.  พระพิมพ์ขุนแผน  ( ซึ่งเนื้อมีหลายสี  เท่าที่ผ่านตาคือ แดง  ดำ เหลือง   ไม่ทราบว่ามีต่างจากนี้หรือไม่ )

 

   7.  พระพิมพ์กระโดดบาตรฯลฯ   ยังมีพิมพ์อีกบางพิมพ์ที่ยังตามหาอยู่แล้วจะนำมาเพิ่มให้ภายหลัง

 

      จุดตายจุดหนึ่งในพระชุดหลวงพ่อโชติ วัดตะโนคือ  เนื้อเหลืองมีคราบแป้งในองค์ที่ไม่ผ่านการใช้  เนื้อที่ผ่านการใช้หรือโดนเหงื่อจะมันจัดเหลืองฉ่ำ  และขอบด้านล่างของพิมพ์จะมีรอยเสียบแบนๆขนาดใหญ่อยู่ทุกองค์ยกเว้นพิมพ์ใหญ่กลักไม้ขีดที่ไม่มีรอยนี้ 

 

       ข้อมูลล่าสุดจากการพูดคุยกับลูกศิษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ได้กล่าวว่าสีเหลืองที่อยู่ในเนื้อพระนั้นมาจากสีจากการซักจีวรของหลวงพ่อท่าน   หลวงพ่อโชติท่านจะสรงน้ำเพียงปีละครั้งเท่านั้น  สีที่เหลืองในเนื้อพระของท่านจึงออกสีเหลืองอ่อนๆ 

Visitors: 382,433