พระพุทธชินราช อินโดจีน โค๊ดตอก

         ในปีพ..2485 สงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังขยายตัวมาในภูมิภาคเอเชียนี้ จึงได้มีการจัดสร้างพระพุทธชินราชรุ่นอินโดจีนขึ้น เพื่อเป็นขวัญกำลังใจและเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจให้ทหาร และแจกจ่ายให้กับประชาชนได้เช่าบูชา 

         "พระพุทธชินราชอินโดจีน" จัดสร้างโดยคณะกรรมการพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย มีการจัดพิธีเททองหล่อที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุจังหวัดพิษณุโลก ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ..2485 และนำไปปลุกเสกในพระอุโบสถวัดสุทัศนฯ วันที่ 21 มีนาคม ..2485 ดำเนินการสร้างและออกแบบโดยกรมศิลปากร โดยมีท่านเจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราชแพ เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณสัจจญาณมุนี (สนธิ์เป็นผู้ดำเนินการ พร้อมทั้งได้ทำพิธีเททองหล่อพระตามตำรับตำราการสร้างพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ของวัดสุทัศน์อย่างถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์

         ลักษณะของพระพุทธชินราชอินโดจีน เป็นพระพุทธชินราชขนาดเล็กแบบหล่อโบราณ สามารถคล้องคอได้ เสน่ห์ของพระพุทธชินราชแบบหล่อจะอยู่ที่ผิวพระและโค้ดใต้ฐาน ซึ่งพระพุทธชินราชแบบหล่อนี้ ในช่วงแรกได้หล่อ อกเลานูน ติดไว้บริเวณใต้ฐานพระ แต่ภายหลังได้เปลี่ยนเป็นก้นเรียบแล้วใช้วิธีตอกโค้ดแทนจนครบ 84,000 องค์  ดังนั้นจึงมีพระในส่วนที่เหลือที่ไม่ได้ตอกโค้ดโค๊ดใต้ฐานจึงแบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่ โค๊ดตอกและโค๊ดนูน 

          โค๊ดตอกนั้น จะตอกเป็นรูปตรา "ธรรมจักรและ "อกเลาซึ่งอกเลานี้ได้คัดลอกแบบมาจากรูปอกเลาที่ติดอยู่หน้าบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ส่วนโค๊ดนูนจะเป็นตรา “อกเลานูน” เพียงอย่างเดียว 

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google.

Visitors: 342,918