เบี้ยแก้ หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม

บี้ยแก้ หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว .นครปฐม

            เบี้ยแก้หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว นครชัยศรี นครปฐม หลวงปู่มักจะเป็นผู้ถ่อมตนในการสร้างวัตถุมงคลอยู่เสมอ ใครจะมาขอมงคลวัตถุจากท่านก็ตามท่านมักจะมอบให้แล้วบอกให้ผู้รับอย่าตั้ง อยู่ในความประมาท และเมื่อมีใครก็ตามถามหลวงปู่ว่าของหลวงปู่ดีอย่างไร ท่านก็จะบอกได้แต่เพียงว่าให้ไว้เป็นที่ระลึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพียงเท่านั้นเอง 

            การสร้างมงคลวัตถุของหลวงปู่หากจะลำดับว่าท่านสร้างอะไรเป็นสิ่งแรก แล้วก็คงต้องบอกว่า “เบี้ยแก้” เพราะท่านสร้างมานานมาก หลังจากท่านครองเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้วได้ไม่กี่ปี  ประมาณปี พ.ศ.2485 เพราะท่านเป็นเจ้าอาวาสเมื่อปี พ.ศ. 2482 

            ท่านเล่าว่ามีญาติโยมเขามาขอให้ท่านทำให้ ท่านก็บอกปัดไปหลายครั้งหลายหน แต่ในที่สุดก็ทนโยมที่มาขอร้องอยู่เสมอไม่ได้จึงทำให้ไปตามความรู้ความ สามารถที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงปู่บุญและเมื่อทำไปแล้วก็มีคนมาขอให้ทำ ให้ต่อมาโดยมิขาด ในช่วงเวลาอันยาวนานถึง 40 ปี 

            หลวงปู่สร้างเบี้ยแก้ให้บรรดาศิษย์ และผู้เคารพนับถือท่านไม่น้อย ผู้ที่ได้ไปต่างก็หวงแหน เพราะเป็นของขลังประจำตัวมิได้ให้กันง่ายๆ ส่วนใหญ่ก็มักจะให้ท่านทำให้ไว้คนละ 1 ตัวเท่านั้น             หลวงปู่เป็นอุปัชฌาย์บวชให้กุลบุตรมาจำนวนนับพันคน ผู้ที่หลวงปู่บวชให้แต่ละคนส่วนมากก็จะมีเบี้ยแก้ของหลวงปู่เสมอไป เพราะระหว่างบวชอยู่ก็จัดเตรียมเครื่องทำเบี้ยแก้ไปถวายให้หลวงปู่ทำให้

            กรรมวิธีการทำเบี้ยแก้ของหลวงปู่เพิ่ม ผู้ที่ต้องการเบี้ยแก้จะต้องไปจัดหา หอยเบี้ย 1 ตัว ปรอทน้ำหนัก 1 บาท ชันนะโรงใต้ดินกลางแจ้ง 1 ก้อน แผ่นตะกั่วขนาด 4 x 5 นิ้ว 1 แผ่น เอาของทั้งหมดใส่ถาดพร้อมดอกไม้ธูปเทียนไปถวายหลวงปู่ท่านจะรับสิ่งของเอา ไว้ จากนั้นท่านจะเสกปรอทแล้วเทปรอทจากขวดใส่ฝ่ามือเรียกเอาปรอทใส่เบี้ย แล้วอุดด้วยชันนะโรงที่ปากหอย จากนั้นท่านจะส่งถาดคืนให้พร้อมหอยที่กรอก แล้วบางทีท่านจะบอกว่า “ไปขอให้ท่านสมุห์เจือเขาทำให้นะจ๊ะ” หมายถึงผู้ที่ทำเบี้ยแก้จะต้องเอาสิ่งของดังกล่าวไปหาพระสมุห์เจือกุฏิริม แม่น้ำนครชัยศรี สมุห์เจือก็จะเอาแผ่นตะกั่วมาห่อหุ้มหอยเบี้ยที่กรอกปรอทเอาไว้แล้วใช้ด้าม มีดเคาะจนแผ่นตะกั่วแนบสนิทกับตัวหอย ปฏิบัติการนี้นานประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง จนกระทั่งแผ่นตะกั่วเรียบสนิทดี ฝีมือการเคาะนี้หากไม่มีความชำนาญ เบี้ยจะออกมาไม่สวย และเมื่อเอาให้หลวงปู่ลงจารอักขระจะจารยากมาก พระสมุห์เจือมีความชำนาญมาก ท่านเคาะเบี้ยแก้เป็นประจำมานานไม่น้อยกว่า 30 ปีแล้ว จนปัจจุบันท่านรับภาระทำเบี้ยแก้แทนหลวงปู่ได้ขลังและเป็นที่รู้จักกันดี ทั่วไป

            เมื่อหุ้มตะกั่วแล้วผู้ทำเบี้ยจะต้องนำเบี้ยแก้ที่หุ้ม นั้นไปหาหลวงปู่อีกครั้ง ถวายให้ท่านลงจารอักขระบนตะกั่วที่ห่อหุ้มเบี้ยเอาไว้ บางรายก็เอาผ้าแดงผืนเล็กๆ ให้หลวงปู่ลงยันต์ให้ด้วยก็มี พอท่านจารเสร็จก็จะปลุกเสกให้ บางทีท่านอาจให้มารับวันหลัง บางทีท่านก็จะปลุกเสกให้เดี๋ยวนั้น

หลังจากหลวงปู่ปลุกเสกและจารอักขระให้เสร็จก็เป็นอันว่า เสร็จเรียบร้อย แต่ส่วนใหญ่จะนำเอาเบี้ยแก้ที่ปลุกเสกเสร็จแล้วกลับไปหา “สมุห์เจือ” อีกครั้งหนึ่งเพื่อขอให้ท่านถักเชือกหุ้มห่อหอยเบี้ยแก้ให้ ซึ่งพระสมุห์เจือมีฝีมือการถักเป็นเยี่ยมมาก

           

          พระพุทธวิถีนายก (หลวงปู่เพิ่ม ปุณณวสโน) นามเดิมว่า "เพิ่ม" ท่านเกิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2429 ที่ตำบลไทยวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โยมบิดาชื่อ เกิด โยมมารดาชื่อ วรรณ ท่านบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 8 ขวบ สืบต่อมาจนอายุครบบวช จึงได้อุปสมบทในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2450 ณ พัทธสีมาวัดกลางบางแก้ว โดยมีสมเด็จพระสังฆราชแพ ครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระวันรัต วัดสุทัศน์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจอม เจ้าอาวาส วัดตุ๊กตา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูทักษิณานุกิจ วัดสรรเพชญ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

            เมื่อท่านอุปสมบทแล้วก็ได้เล่าเรียนพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดกลางบางแก้วตลอดมา และถือได้ว่าหลวงปู่เพิ่ม ท่านเป็นศิษย์ที่ใกล้ชิดหลวงปู่บุญมากที่สุด เพราะท่านบวชเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ 8 ขวบ ก็อยู่ปฏิบัติรับใช้หลวงปู่บุญมาตลอดจนกระทั่งหลวงปู่บุญมรณภาพ เป็นเวลาถึง 39 ปี ตลอดเวลานั้นท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ทั้งทางด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ตลอดจนเวทวิทยาคมต่างๆ ไว้มากมาย หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้วท่านเป็นพระสงฆ์ที่บริสุทธิ์ผุดผ่องด้วยศีล สมาธิ และปัญญาธรรม เปี่ยมล้นไปด้วยเมตตาธรรม หมดสิ้นกิเลสทั้งปวง หลวงปู่ท่านเป็นพระที่พูดจาไพเราะอ่อนหวาน สำเนียงของท่านนั้นมีแววความเมตตาผสานเอาไว้ใครได้ฟังแล้วจะรู้สึกชุ่มชื่นใจ ใครๆ ได้สนทนากับท่านแล้วจะรู้สึกเคารพศรัทธาท่านทุกคนไป

            หลวงปู่เพิ่มท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส วัดกลางบางแก้วเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2481 

ปี พ.ศ.2482 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ 

ปี พ.ศ.2483 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี 

ปี พ.ศ. 2489 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่พระครู พุทธวิถีนายก
ปี พ.ศ.2495 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นเอกในราชทินนามเดิม 

ปี พ.ศ. 2503 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญมีราชทินนามว่า พระพุทธวิถีนายก 

หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้วท่านมรณภาพ เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2526 สิริอายุได้ 97 ปี 76 พรรษา

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google.

 

Visitors: 342,828