พระกริ่งสมเด็จทุ่งบางเขน (พระกริ่งนวลจันทร์) ปี 2512 เนื้อนวะโลหะ

พระกริ่งสมเด็จทุ่งบางเขน (พระกริ่งนวลจันทร์) ปี 2512 เนื้อนวะโลหะ

             พระกริ่งสมเด็จทุ่งบางเขนเเละ พระชัยศรี (พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์นวลจันทร์) เนื้อนวโลหะ ถือได้ว่าเป็นรุ่นยอดนิยมรุ่นหนึ่งของสายกัมมัฎฐาน โดยจัดสร้างขึ้นเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสฉลองชนมายุครบ 72 ปี ของสมเด็จมหาวีรวงศ์ (พิม ธมธโร) วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2512 

             โดยวัตถุมงคลที่สร้างทั้งหมดทำพิธีอธิฐานจิตระหว่างวันที่ 24-26 เมษายน 2512 ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน พระสงฆ์ที่มาร่วมแผ่เมตตาอธิษฐานจิตล้วนเป็นครูบาอาจารย์สายกัมมัฏฐานรูปสำคัญทั้งสิ้น ได้แก่ 

1.พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร 

2.หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง 

3.หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม 

4.หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง 

5.หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอรัญญวิเวก 

6.หลวงปู่บัว สิริปุญโญ วัดป่าบ้านหนองแซง 

7.หลวงปู่ขาว อนาลโยวัดถ้ำกลองเพล 

8.หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญญาบรรพต 

9.หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง 

10.หลวงปู่มหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด 

11.พระอาจารย์จันทร์ เขมปัตโต 

12.พระอาจารย์จวน กุลเชษโฐ วัดภูทอก เป็นต้น 

            ในระหว่างพิธีอธิษฐานจิต คืนวันที่ 25 เม.ย 2512 เกิดปรากฎเหตุการณ์มหัศจรรย์ขึ้น ขณะที่หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่สิม พุทธาจาโร หลวงปู่พระครูปัญญาวรากร และหลวงปู่ท่อน ญาณธโร ได้รับนิมนต์มานั่งปรกในชุดเดียวกันกำลังแผ่เมตตาอธิษฐานจิต ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ปรากฏแสงจันทร์ทรงกลดเป็นลำแสงสีทองส่องลงมาปกคลุมทั่วปริมณฑลพิธี จนหลวงปู่ฝั้นท่านออกจากสมาธิ แล้วบอกให้ผู้ร่วมพิธีได้ดู ปรากฎการณ์มหัศจรรย์นี้ได้ด้วยตาเปล่า เป็นที่น่าทึ่ง น่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก ด้วยเหตุนี้บรรดาผู้มีบุญที่ได้มีโอกาสร่วมในพิธีและอยู่ในเหตุการณ์มหัศจรรย์ครั้งนั้น ต่างพากันโจษจันเลื่องลือถึงความศักดิ์สิทธิ์จนโด่งดังไปทั่ว เป็นเหตุให้วัตถุมงคลรุ่นนี้ที่แต่เดิมตั้งชื่อว่า "พระกริ่งทุ่งบางเขน" หรือ "สมเด็จทุ่งบางเขน" ได้รับการขนานนามอีกอย่างหนึ่งว่า "พระกริ่งแสงจันทร์" หรือ "พระกริ่งนวลจันทร์" 

            พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ รุ่นนี้ กรรมวิธีการสร้างแบบหล่อโบราณ มีแต่งหุ่นเทียนเพิ่มเติมบ้างในบางองค์ โดยเฉพาะหน้าตาองค์พระ ทำให้แต่ละองค์จะต่างกันเล็กน้อย แต่ดูละม้ายคล้ายกัน เนื้อนวะโลหะกลับดำครบสูตรตามโบราณ และมีการรวบรวมแผ่นยันต์ แผ่นจาร เครื่องใช้สำริด ทองโบราณ เงินโบราณ โลหธาตุที่เป็นมงคลและหายาก นำมาร่วมจัดสร้างเททองหล่อในการครั้งนี้ด้วย จึงทำให้เนื้อหาของนวะโลหะรุ่นนี้ครบถ้วนดีนอกดีในสมบูรณ์ทุกประการส่วนรูปแบบนั้นได้รับ ออกแบบและเททองหล่อโดยนายช่างเกษม มงคลเจริญ ถือว่าเป็นสุดยอดของช่างในยุคนั้น สำหรับองค์ที่สภาพเดิมๆ จะมีผิวพรรณสีส้มแดงสุกอร่ามทั้งองค์ แต่หากสัมผัสหรือใช้บูชา ผิวไฟนี้จะหายเปิดให้เห็นเนื้อในนวะกลับดำสวยงดงามยิ่งนัก

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google.

 

Visitors: 342,893