เหรียญพระชินราชเจ้าคุณโต วัดสมุหประดิษฐ์ ปี พ.ศ. 2485 เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง

“เหรียญพระชินราชเจ้าคุณโต วัดสมุหประดิษฐ์ ปี พ.ศ. 2485 เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง”

เหรียญพระพุทธชินราช พระศีลวิสุทธิดิลก สาวกจรรยานุยุคสังฆปาโมกข์ (เจ้าคุณโต ธมฺมปปญฺโญ) วัดสมุหประดิษฐ์ อ.เสาไห้ จ.สระบุรี จัดสร้างขึ้นปี พ.ศ.2485 เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง เหรียญนี้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกพร้อมเหรียญชินราชอินโดจีนของวัดสุทัศน์

ลักษณะเป็นเหรียญปั้มรูปทรงเสมา

ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปพระพุทธชนิราช

ด้านหลังเหรียญเรียบ

 

“พระศีลวิสุทธิดิลก สาวกจรรยานุยุคสังฆปาโมกข์” (เจ้าคุณโต ธมฺมปปญฺโญ) ท่านเกิดประมาณปี พ.ศ. 2404 เป็นคนพื้นบ้านหนองนกชุม ต.โคกสะอาด อ.เสาไห้ จ.สระบุรี  

พออายุท่านพอบวชได้จึงบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบ้านโดนกับพระอุปัชฌาย์ล่าห์ เพื่อศึกษาอักษรสมัย หนังสือไทยและขอม จนอ่านออกเขียนได้ จนอายุครบ 12 ปี จึงได้ลงมาศึกษาต่อที่ กทม. อยู่ที่วัดเอี่ยมวรนุช บางขุนพรหม เรียนมูลกัจจายน์ พออายุได้ 17 ปี ได้ย้ายมาอยู่ที่วัดใหม่อมตรส (วัดบางขุนพรหม) ต่อมาจึงได้เข้าเฝ้าสมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศ และได้ศึกษาอยู่ในสำนักเรียนแห่งนี้ สามเณรโตเป็นที่โปรด ปรานและใกล้ชิดสมเด็จฯ เป็นอย่างยิ่ง 

ต่อมาพอท่านเจ้าคุณโตอายุครบ 21 ท่านจึงทูลลาสมเด็จฯ กลับมาอุปสมบทที่วัดบ้านโดน โดยอุปสมบทกับพระอุปัชฌาย์ล่าห์ แล้วจึงกลับมาจำพรรษาที่วัดบางขุนพรหม และศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักวัดบวรฯ ตามเดิม ท่านมีความรู้แตกฉานสามารถแปลหนังสือได้คล่องแคล่วแต่ท่านไม่ได้เข้าสอบเอา เปรียญ
ต่อมาเจ้าคณะอำเภอเสาไห้ว่างลง สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ท่านจึงโปรดตั้งพระครูโตขึ้นมาดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอเสาไห้ แต่ท่านหลบไปจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองนกชุม ที่บ้านเกิดของท่าน อยู่มาไม่นานท่านเจ้าคุณศรีพุทธฉายาภิบาล(ศรี) เจ้าคณะจังหวัดสระบุรี วัดสมุหประดิษฐ์ได้ลาสิกขาบท ครั้งนั้นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จมาประทับยังวัดสมุหประดิษฐ์ ซึ่งเป็นวัดเจ้าคณะจังหวัด ถามหาพระครูโตและให้คนไปตามมา เมื่อพระครูโตเข้าเฝ้าจึงได้โปรดสถาปนาให้พระครูโตเป็นเจ้าคณะเมือง และเป็นที่พระครูศรีพุทธฉายาภิบาล และเป็นผู้ดูแลพระพุทธฉายด้วย 

ท่านพระครูโตอยู่จำพรรษาอยู่ที่วัดสมุหประดิษฐ์ ประมาณ 5 ปี สมเด็จพระสังฆราชฯ ได้เสด็จมาครองราชการและประทับอยู่ที่วัดสมุหประดิษฐ์ ทรงตรวจราชการเห็นความเรียบร้อยจากผลงานปกครองของพระครูโต จึงโปรดสถาปนาให้เป็นพระราชาคณะที่ พระศรีวิสุทธิดิลกสาวกจรรยานยุศสังฆปาโมกข์ (โต) และเป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านเจ้าคุณโตดำรงตำแหน่งพระราชาคณะตลอดมาถึง 45 ปี จึงมรณภาพลงในปี พ.ศ. 2485 สิริอายุได้ 81 ปี พรรษาที่ 60

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google.

 

Visitors: 342,918