พระร่วงหลังรางปืน เนื้อชิน

พระร่วงหลังรางปืน ถูกค้นพบกันคนละเวลาคนละสถานที่ แต่ก็นับเป็นพระยอดนิยมเนื้อชินและได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในพระเบญจภาคี
ที่มีค่านิยมสูง พระร่วงหลังรางปืน ค้นพบที่บริเวณหน้าพระปรางค์องค์ใหญ่ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ในคราวแตกกรุเมื่อประมาณปี พ.ศ.2493

พระที่พบมีจำนวนน้อยเพียง 200 กว่าองค์ อีกทั้งส่วนใหญ่เป็นพระที่ชำรุดแตกหัก แต่ด้วยพุทธลักษณะที่อ่อนช้อยงดงามแต่แฝงด้วยความเข้มขลัง มีwุทธคุณเป็นเลิศครบครัน จึงได้รับการยกย่องให้เป็น ‘จักรพรรดิแห่งพระเนื้อชิน’
พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับยืน แสดงปางประทานพร อยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ยอดซุ้มเป็นลายกระหนกแบบ ‘ซุ้มกระจังเรือนแก้ว’ ด้านหลังมีเอกลักษณ์เฉพาะคือ มีร่องกดลึกลงไปเป็นแนวยาวตลอดองค์เป็นรางปืน หรือเป็นการใช้ไม้กดลงไปเพื่อให้เกิดร่องหลังจากนั้นจะปรากฎร่องรอยเสี้ยนไม้ พระร่วงหลังรางปืน มีความยาว 7-8 ซม. ความกว้าง 2 ซม. ซึ่
งเป็นศิลปะแบบขอมมีความคมชัดของลายเส้นต่างๆ ผิวองค์พระจะมีสีสนิมแดงคล้ายสีลูกหว้าและลักษณะพิเศษคือ จะมีไขคลุมอีกชั้นหนึ่ง
ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google

Visitors: 342,612