“พระสมเด็จวัดเกศไชโย พิมพ์7ชั้น นิยม A”

พระสมเด็จวัดเกศชไชโย สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังษี อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม พระสมเด็จวัดเกศไชโยถูกสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 4 ประมาณปี พ.ศ.2409 ตามบันทึกของพระยาทิพโกสา (สอนโลหะนันท์) ได้กล่าวไว้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์โตสร้างสมเด็จวัดเกศไชโยขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับโยมมารดาที่ชื่อ เกศ และตามีชื่อว่า ไช พระสมเด็จจึงถูกขนานนามตามชื่อวัดว่า “สมเด็จวัดเกศไชโย” 
     พระสมเด็จวัดเกศไชโยเป็น 1 ใน 3 ตระกูลพระสมเด็จที่สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โตพรหมรังสี) เมื่อสมเด็จฯ ท่านสร้างพระพิมพ์ 6 ชั้นและ 7 ชั้นแล้ว ได้นำไปบรรจุไว้ที่ฐานหรือองค์พระโต ที่ท่านสร้างไว้ที่วัดไชโยวรวิหาร อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เมื่อพระโตได้พังทลายลงมาพระจึงเผยแพร่ออกมา
     พิมพ์ของพระสมเด็จวัดเกศไชโย มีเอกลักษณ์แตกต่างจากพระสมเด็จวัดระฆังฯ และพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม คือ ทุกพิมพ์ต้องมีกรอบกระจกและอกมีร่องหูบายศรี (ยกเว้นพิมพ์ 7 ชั้นอกตัน) อีกทั้งมีฐานมากกว่า 3 ชั้นคือมีฐาน 6 ชั้นและฐาน 7 ชั้น (บางท่านว่าบางพิมพ์มีฐาน 5 ชั้น) หน้าอกคล้ายรากฟัน และมีรอยฝนกระดาษทรายทั่วทั้งด้านหน้าด้านหลัง
  พระสมเด็จฯ เกศไชโย มีคราบกรุบาง หรือแทบไม่มีคราบกรุเลย เพราะถูกบรรจุไว้ในที่แห้ง และอยู่ในกรุไม่นานนัก จึงทำให้ดูเหมือนว่ามีอายุน้อยกว่า พระสมเด็จฯ วัดระฆัง หรือ วัดบางขุนพรหม แต่พระที่ถูกใช้สัมผัสจะหนึกนุ่มและเนื้อจัด พระที่ไม่ใช้จะแห้งและสีออกขาว พระบางองค์แตกลายงา พิจารณาโดยรวมแล้ว เนื้อพระจะละเอียดและแข็งกว่าของพระสมเด็จฯ อีกสองสำนัก
เนื้อพระ เป็นพระเนื้อผงขาวเช่นเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม เนื้อพระละเอียดเพราะผ่านการกรองและตำผงมาอย่างดี มวลสารส่วนใหญ่ปูนขาวผสมผงพระพุทธคุณ 
ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google

Visitors: 342,634