พระกริ่งคลองตะเคียน พิมพ์หน้าใหญ่ไหล่ยกอกตั้ง

พระกริ่งคลองตะเคียน” พระกรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แหล่งกำเนิด อยู่ที่บริเวณ ตำบลคลองตะเคียน โดยกระจาย อยู่ทั่วไป และบริเวณวัดประดู่ เหตุที่เรียกว่า "พระกริ่ง" ลักษณะขององค์พระเมื่อเขย่าแล้วเกิดเสียงดัง ส่วนคำว่า "คลองตะเคียน" คือแหล่งกำเนิดที่พบองค์พระครั้งแรก
พุทธลักษณะขององค์พระสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระในสมัยอยุธยายุคปลายๆ พระกริ่งคลองตะเคียน มีพุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย เหนืออาสนะฐานสูง ภายใต้ต้นโพธิ์ มีใบโพธิ์ปกคลุมเป็นร่มเงาคล้ายๆ กับพระคงลำพูน มียอดเป็นปลีสูง พระพักตร์กลมนูนไม่ปรากฏรายละเอียด ส่วนด้านหลังเป็นหลังอูม และมียันต์อักขระจาร บางองค์ก็สร้างเป็นองค์พระทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แต่ทุกองค์จะต้องมีอักขระจารอยู่ทั้งสิ้น “พระกริ่งคลองตะเคียน” สามารถแบ่งแยกสีได้ 3 สี คือ สีดำ, สีเขียวอมเทา และสีเหลืองอมเขียว พระกริ่งคลองตะเคียนมีทั้งหมด 4 พิมพ์ คือ พระกริ่งคลองตะเคียน พิมพ์หน้าใหญ่ไหล่ยกพระกริ่งคลองตะเคียน พิมพ์สองหน้าพระกริ่งคลองตะเคียน พิมพ์หน้าเล็กพระกริ่งคลองตะเคียน พิมพ์พระปิดตา
มวลสารที่ผสมเป็นองค์พระที่มีผงใบลานเผาผสม จึงทำให้เนื้อขององค์พระออกสีดำมัน ใบหน้าองค์พระกลมใหญ่ไหล่ยก อกตั้งตามชื่อพิมพ์พิมพ์หน้าใหญ่ไหล่ยกอกตั้ง พระพิมพ์นี้จะก็อปพิมพ์จากพระคงลำพูน และจะพบคราบขาวเกาะตามซอกพระซึ่งเกิดจากคราบกรุ
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google.

Visitors: 341,842