พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม พิมพ์ตะพาบ วัดสะพานสูง

พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยมวัดสะพานสูง.ปากเกร็ดจัดเป็นหนึ่งในห้าสุดยอดพระปิดตาของเมืองไทย

ลักษณะและเอกลักษณ์แม่พิมพ์มวลสารที่ใช้เป็นมวลสารที่หลวงปู่เอี่ยมเก็บสะสมไว้เป็นจำนวนมากระหว่างเดินธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆเป็นพวกว่านและรากไม้ที่ทรงคุณทางเมตตามหานิยมนำมาบดผสมกับเนื้อผงพุทธคุณที่มาจากการลบพระคาถาพระยันต์อิติปิโสพระยันต์ไตรสรณคมน์และพระยันต์โสฬสมหามงคลสีสันวรรณะจะออกเป็นสีมะขามเปียกมีความหนึกนุ่มเมื่อส่องดูเนื้อจะเห็นว่านดอกมะขามซึ่งอาจจะเป็นชาดสีแดงๆกระจายอยู่ทั่วองค์พระพบเนื้อสีขาวบ้างแต่มีน้อยลักษณะจะขาวนวลเหมือนผงน้ำมันแต่ไม่เยิ้มมีคราบขาวกระจายอยู่ทั่วไปเมื่อทำเป็นองค์พระแล้วมักจะทาหรือชุบน้ำรักอีกชั้นหนึ่งด้วยสูตรรักของท่านเอง

ลักษณะเป็นพระปิดตาแบบลอยตัวพระประธานประทับนั่งปางสมาธิราบพระหัตถ์ปิดพระเนตรมีพบเป็นครึ่งซีกบ้างแต่น้อยส่วนขนาดก็มีเล็กบ้างใหญ่บ้างโดยส่วนมากจะออกใหญ่และล่ำสันซึ่งดูงดงามไปอีกแบบแบ่งได้เป็น 2 พิมพ์คนรุ่นเก่านิยมเรียกว่าพิมพ์จุฬาใหญ่และพิมพ์จุฬาเล็กแต่วงการพระเครื่องเรียกพิมพ์ชะลูดและพิมพ์ตะพาบพระปิดตาของหลวงปู่เอี่ยมจะเป็นพิมพ์ประกบหน้าหลังจึงปรากฏตะเข็บด้านข้างให้เห็นเกือบทุกองค์ซึ่งมักจะปริหรือแตกกะเทาะด้วยกาลเวลาด้านบนศรีษะและด้านข้างจะมีจุกและรอยตะเข็บประกบของพิมพ์ด้านข้างตะเข็บจะบิดออกบริเวณหัวเข่าและตะเข็บจะไม่ตรงและปรากฎคีบให้เห็น

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google.

Visitors: 342,354