พระกำแพงลีลาพลูจีบ

พระกำแพงลีลาพลูจีบ มีอายุการสร้างเท่าๆ กับพระกำแพงซุ้มกอและพระกำแพงลีลาเม็ดขนุนพบบริเวณวัดบรมธาตุวัดพิกุลและบริเวณทั่วๆไปของลานทุ่งเศรษฐีแต่มีจำนวนน้อยมากแทบนับองค์ได้เรียกว่าพระกำแพงลีลาพลูจีบแต่ก่อนในอดีตเคยจัดอยู่ในชุดเบญจภาคีแล้วต้องนำออกเนื่องจากเป็นพระที่หายากมากและจัดชุดไม่ได้ 

และหนึ่งในสี่ของพระกำแพงยอดนิยมที่สุด คือ พิมพ์กลีบจำปา พิมพ์พลูจีบ พิมพ์เม็ดขนุนพิมพ์ซุ้มกอ เป็นต้น

 

พุทธลักษณะของพระกำแพงพลูจีบเป็นพระยืนปางลีลาขนาดประมาณ .๕ เซนติเมตรกว้างประมาณ .๕ เซนติเมตร แต่แบนกว่าพระกำแพงลีลาเม็ดขนุนเล็กน้อยประทับยืนบนฐาน ๒ ชั้น ลักษณะเหมือนกับประทับยืนเขย่งปลายเท้าทั้งสองข้างอยู่มากกว่าที่จะเป็นลักษณะแบบพระปางลีลาทั่วๆไปจึงเป็นที่มาของชื่อที่เรียกกันว่าพระกำแพงเขย่ง

ส่วนของแม่พิมพ์ของพระเป็นพระพิมพ์ตื้นแต่ก็คงรายละเอียดไว้ครบถ้วนสวยงามมีฐานบัวรองรับกรอบนอกของพระจะมีรอยจับออกจากแม่พิมพ์จะเห็นได้ว่าคอดตรงกลางทำให้มองดูคล้ายๆกับใบพลูกินหมากที่ม้วนจีบไว้อย่างสวยงามจึงเป็นที่มาที่คนโบราณขนานนามว่า พระพลูจีบองค์นี้เป็นเนื้อ A ลงรักแบบโบราณ มีแร่มะขามมีเม็ดแดงเรื่อๆ พระกำแพงลีลาพลูจีบนั้นหาแท้ยากมากและการทำของปลอมพระรุ่นนี้จะไม่สามารถทำเหมือนได้เนื่องจากไม่มีตัวแม่ที่ใช้ในการถอดพิมพ์ 

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google.

Visitors: 341,705