พระสมเด็จจิตรลดา ปี 2511

พระสมเด็จจิตรดา หรือพระกำลังแผ่นดิน

(ปัจจุบันประชาชนเรียกว่า สมเด็จจิตรดา, พระจิตรดา เดิมเรียกว่า พระพิมพ์ที่ฐานพระพุทธนวราชบพิตร) เป็นพระเครื่อง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงสร้างด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง พระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และพลเรือน ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2508 - 2513 มีทั้งสิ้นประมาณ 2,500 องค์

โดยมีพระราชดำรัสแก่ผู้รับพระราชทานว่า ให้ปิดทองที่หลังองค์พระปฏิมา แล้วเอาไว้บูชาตลอดไป ให้ทำความดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ"

การแกะแม่พิมพ์พระพุทธรูปพิมพ์ โดยมีศาสตราจารย์ ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ข้าราชการบำนาญกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร แห่ง มหาวิทยาลัยศิลปากร รับราชการใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทในงานด้านประติมากรรมเป็นผู้แกะแม่พิมพ์ถวาย การแกะพิมพ์ พระสมเด็จจิตรดา เป็นพุทธศิลป์แบบแม่พิมพ์ลึก แล้วใช้ดินน้ำมันกดลงบนแม่พิมพ์ลึกเพื่อถอดแบบองค์พระสมเด็จจิตรดา

มวลสาร ประกอบด้วยเรซิน และผงพระพิมพ์ นำมาบดเป็นผง รวมกับเส้นพระเจ้า คลุกกับกาวเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วกดเป็นองค์พระด้วยพระหัตถ์

พระสมเด็จจิตรลดา เป็นพระปางสมาธิ ศิลปะรัตนโกสินทร์ พระพักตร์ทรงผลมะตูม องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิราบ ประทับนั่งเหนือบัลลังก์ดอกบัว ประกอบด้วย กลีบบัวบานทั้ง 9 กลีบ และเกสรดอกบัว 9 จุดอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มีลักษณะละม้ายคล้ายกับพระพุทธนวราชบพิตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชทานประจำทุกจังหวัดและหน่วยทหาร แต่ต่างกันที่ พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระปางมารวิชัย

พระสมเด็จจิตรลดา มีหลายสี ตามมวลสารที่ใช้ผลิตในแต่ละครั้งแตกต่างกัน ได้แก่ สีน้ำตาล สีน้ำตาล-อมเหลือง สีน้ำตาล-อมแดงคล้ายเทียน สีดำอมแดง หรือ สีดำอมเขียว มีทั้งสีเข้มและอ่อน

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google.

Visitors: 341,853