พระกริ่ง วัดสุทัศน์ฯ พิมพ์หน้าอินเดีย

                  พระกริ่งหน้าอินเดียสมเด็จพระสังฆราชแพวัดสุทัศน์กรุงเทพฯ ปี พ..2482

                  ลักษณะเป็นการเททองหล่อโบราณ แบบกริ่งในตัว คือ บรรจุเม็ดกริ่งไว้ภายในองค์พระขณะเป็นหุ่นขี้ผึ้ง มี 2 พิมพ์ คือ พิมพ์หน้าใหญ่และพิมพ์หน้าเล็ก

                  พระกริ่งหน้าอินเดีย จัดสร้างขึ้นในปี พ..2482 เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในภาวะสงคราม (ประเทศไทยประกาศสงครามอินโดจีนปี พ..2483) ประชาชนส่วนใหญ่อยู่ในภาวะหวาดกลัวและหวั่นวิตก คณะศิษย์ในเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช(แพ) คือพระอาจารย์แสวงวัดสระเกศ พระชัยปัญญา อธิบดีศาลอาญา พระราชอากรอธิบดี กรมสรรพากร ได้ดำริร่วมกันที่จะสร้างพระกริ่งเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับประชาชน จึงนำความกราบบังคมทูลและทูลเชิญสมเด็จพระสังฆราช(แพ) ไปเป็นประธานสร้างพระกริ่งที่วัดสระเกศฯ แต่สมเด็จพระสังฆราช(แพ) ทรงเมตตาอนุญาตและให้หล่อที่วัดสุทัศน์โดยทรงมอบหมายให้ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) เป็นผู้ดำเนินงาน 

                   ในการสร้างพระกริ่งหน้าอินเดียของสมเด็จพระสังฆราช(แพ) เริ่มตั้งแต่การลงแผ่นยันต์อักขระ 108 อย่างแล้วก็ยังมียันต์ 14 นะขณะลงเหล็กจารต้องกำหนดจิตเป็นสมาธิรวมกับเงินพดด้วงตรายันต์และตราราชวัตรองค์ละ 1 เม็ดน้ำหนัก 1 บาทโดยใช้โลหะทองล่ำอู่เหลืองเป็นตัวยืนโดยมีบันทึกว่าใช้เงินพดด้วงทั้งหมดประมาณ 2 กระป๋องน้ำขนาดเล็ก โดยพิธีหล่อได้กำหนดขึ้นในวันที่ 23 มกราคม พ..2482 ณอุโบสถวัดสุทัศน์ฯ 

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google.

Visitors: 341,797