พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์

     พระสมเด็จวัดระฆัง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โตพรหมรังสี) เป็นพิมพ์พระพุทธประทับนั่งขัดสมาธิมีฐานสามชั้น ไม่ปรากฏรายละเอียดของพระพักตร์ เป็นศิลป์สมัยใหม่ คือ เป็นเพียงลายเส้นพระพิมพ์ ก่อนหน้านั้นจะให้รายละเอียดมีพระเนตรพระนาสิก ฯลฯ ถือได้ว่าพระพิมพ์สมเด็จฯ มีพุทธศิลปแบบสมัยใหม่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง อีกทั้งทำด้วยผงวิเศษซึ่งนับว่าเป็นของใหม่ (ก่อนหน้านั้นจะทำด้วยดินหรือชิน)

 

แม่พิมพ์พระสมเด็จ

พิมพ์มาตรฐานที่วงการพระยอมรับมีอยู่เพียง 5 พิมพ์ คือ

1. พิมพ์ใหญ่ สันนิษฐานว่านำรูปแบบมาจากพระประธานสมัยสุโขทัย

2. พิมพ์เจดีย์ มีลักษณะพุทธศิลปสกุลช่างเชียงแสน

3. พิมพ์เกศบัวตูม พุทธลักษณะคล้ายพระเชียงแสนสิงห์มีลักษณะคล้ายกับพิมพ์เจดีย์

4. พิมพ์ฐานแซม มีพุทธศิลปแบบพระบูชาสมัยอู่ทอง

5. พิมพ์ปรกโพธิ์ มีสองแบบคือแบบพิมพ์ฐานแซมกับพิมพ์เกศบัวตูม

 

     มวลสารของพระสมเด็จฯ ส่วนใหญ่เป็นปูนขาวผสมผงพระพุทธคุณ คือ ผงมหาราชอิทธิเจปถมังตรีนิสิงเห ฯลฯ โดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นผู้ทำผงกรรมวิธีแบบโบราณ คือ เขียนบนกระดานชนวนเขียนแล้วลบรวบรวมผงนำมาสร้างพระ นอกจากนี้ยังมีอิทธิวัตถุอื่นเช่น ใบลานเผา ว่านอิฐหัก ดอกไม้บูชาพระ ฯลฯ ทั้งหมดนำมาโขลกผสมประสานด้วยน้ำมันตังอิ้ว ทำให้เนื้อพระไม่เปราะหรือแตกหักง่าย

 

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โตพรหมรังสี) ท่านเกิดวันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ..2331 มารดาชื่องุด เกศ บิดาไม่ปรากฏแน่ชัด

         เมื่อถึงอายุได้ 13 ปี ท่านบวชเป็นสามเณร ณ วัดใหญ่เมืองพิจิตร ต่อมา ได้ย้ายมาศึกษาธรรมที่เมืองชัยนาทและย้ายมาศึกษากับอาจารย์แก้ว วัดบางลำพู กรุงเทพฯ ได้ศึกษาธรรมกับเสมียนตราด้วง ขุนพรมเสนา ปลัดเสนา ปลัดกรมนุท เสมียนบุญ และพระกระแสร์ต่อมาได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอดิศรสุนทร พระบรมโอรสาธิราช ให้ทรงโปรดมาอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุ

         บวชเป็นพระภิกษุจนถึง พ.. 2351 สมเด็จเจ้าฟ้าพระบรมราชโอรส ทรงรับภาระบรรพชาเป็นนาคหลวง โดยให้ไปบวชที่วัดตะไกรจังหวัดพิษณุโลก แล้วมาประจำอยู่กับพระสังฆราชวัดมหาธาตุ

       ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการให้เป็น "พระธรรมกิตติ" ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆัง เมื่อพ.. 2395 และในพ.. 2397 ก็โปรดเกล้าฯ ให้เป็น "พระเทพกวี" ต่อมาเมื่อพ.. 2407 ก็โปรดเกล้าฯ ให้เป็น "สมเด็จพระพุฒาจารย์" ชาวบ้านทั่วๆ ไปเรียกกันว่า "สมเด็จพุฒาจารย์โตวัดระฆัง" เรียกไปเรียกมาเหลือเพียง "สมเด็จโต" ขณะที่โปรดเกล้าฯเป็นสมเด็จนั้นมีอายุได้ 78 ปีอายุพรรษาได้ 56 พรรษาแล้ว

สมเด็จโตมรณภาพเมื่อวันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน 2415 สิริรวมชนมายุของท่านได้ 85 ปี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามได้ 20 ปี

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google.

Visitors: 341,760