พระรอด พิมพ์ต้อ กรุวัดมหาวัน ลำพูน

            พระรอดเป็นนามที่ผู้สันทัดรุ่นก่อนเชื่อกันว่าเรียกตามนามพระฤาษีผู้สร้างคือพระฤาษีนารทะหรือพระฤาษีนารอดพระรอดคงเรียกตามนามพุทธรูปศิลาองค์ที่ประดิษฐ์อยู่ในวิหารวัดมหาวันที่ชาวบ้านเรียกว่าแม่พระรอดหรือพระรอดหลวงในตำนานว่าคือพระพุทธสิขีปฏิมาที่พระนามจามเทวีอันเชิญมาจากกรุงละโว้พระนามนี้เรียกกันมาก่อนที่จะพบพระรอดพระพุทธรูปองค์นี้ที่พื้นผนังมีกลุ่มโพธิ์ใบคล้ายรัศมีปรากฏด้านข้างทั้งสองด้าน

            พระรอดมีการขุดพบครั้งแรกราวต้นรัชกาลที่ 5 แต่ที่สืบทราบมาได้จากการบันทึกไว้ของท่านอธิการทาเจ้าอาวาสวัดพระคงฤาษีในขณะนั้นและอาจารย์บุญธรรมวัดพระมหาธาตุหริภุญไชยว่าในปีพ.. 2435 พระเจดีย์วัดมหาวันได้ชำรุดและพังทลายลงบางส่วนในสมัยเจ้าหลวงเหมพินทุไพจิตรทางวัดได้มีการปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ขึ้นใหม่ในครั้งนั้นได้พบพระรอดภายในกรุเจดีย์มากที่สุดพระรอดมีลักษณะของผนังใบโพธิ์คล้ายพระศิลาในพระวิหารวัดมหาวันผู้พบพระรอดในครั้งนั้นคงเรียกตามนามพระรอดหลวงแต่นั้นมาก็ได้นำพระรอดส่วนหนึ่งที่พบในครั้งนี้นำเข้าบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ตามเดิมอีกประมาณหนึ่งบาตร

            พระรอดขุดค้นพบในปีพ.. 2451 ในครั้งนั้นฐานพระเจดีย์ใหญ่วัดมหาวันชำรุดทางวัดได้รื้อออกเสียและปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ได้พบพระรอดที่บรรจุไว้ในพ.. 2435 ได้นำออกมาทั้งหมดและนำออกแจกจ่ายแก่ข้าราชการและผู้ร่วมงานในขณะนั้นเป็นการพบพระรอดจำนวนมากพระรอดกรุนี้ถือเป็นพระกรุเก่าและตกทอดมาจนบัดนี้และทางวัดมหาวันได้จัดพิธีสร้างพระรอดรุ่นใหม่บรรจุไว้แทนเข้าใจว่าคงเป็นรุ่นพี่พระครูบากองแก้วเป็นผู้สร้างไว้เพราะมีบางส่วนนำออกแจกให้ประชาชนในขณะนั้นเรียกว่าพระรอดครูบากองแก้ว

            จากนั้นช่วงเวลาผ่านมาจนถึงปีพ.. 2498 ได้ขุดพบพระรอดด้านหน้าวัดและใต้ถุนกุฏิพระได้พบพระรอดจำนวนเกือบ 300 องค์มีทุกพิมพ์ทรงกรุนี้ถือว่าเป็นกรุพระรอดกรุใหม่ที่หมุนเวียนอยู่ในปัจจุบันนี้ถึงปีพ.. 2506 ทางวัดมหาวันได้รื้อพื้นพระอุโบสถเพื่อปฏิสังขรณ์ใหม่ได้พบพระรอดครั้งสุดท้ายที่มีจำนวนมากถึง 300 องค์เศษพระรอดรุ่นนี้มีผู้นำมาให้เช่าในกรุงเทพจำนวนมากพระรอดส่วนใหญ่จะคมชัดและงดงามมากเป็นพระรอดกรุใหม่รุ่นสองหลังจากนั้นต่อมาก็มีผู้ขุดหาพระรอดในบริเวณลานวัดแทบทุกซอกทุกมุมทั่วพื้นที่ในวัดนานๆถึงจะได้พบพระรอดขึ้นมาองค์หนึ่งเป็นเวลาผ่านมาจนถึงปัจจุบันจนกระทั่งทางวัดได้ระงับการขุดพระรอดนอกจากพระรอดแล้ววัดมหาวันยังขุดพบพระเครื่องสกุลลำพูนเกือบทุกพิมพ์ที่พิเศษคือได้พบพระแผ่นดุนทองคำเงินแบบเทริดขนนกมากที่สุดในลำพูนด้วย

            พระรอดกรุวัดมหาวันจ.ลำพูนลักษณะเป็นพระพิมพ์ขนาดเล็กเป็นพระปางมารวิชัยมีฐานอยู่ใต้ที่นั่งและมีผ้านิสีทนะ (ผ้านั่งปู) รองรับปูไว้บนฐานข้างหลังองค์พระมีลวดลายกระจังชาวพื้นเมืองเหนือเรียกกันว่าใบโพธิ์เพราะกระจังนั้นดูคล้ายๆใบโพธิ์มีกิ่งก้านไม่อยู่ในเรือนแก้วพระพักตร์จะปรากฏพระเนตร (ตา) พระกรรณ (หู) ยาวลงมาเกือบจรดพระอังสะ (บ่าหรือไหล่) ทั้งสองข้างส่วนด้านหล้งนั้นไม่มีลวดลายอะไรนอกจากรอยนิ้วมือเป็นเนื้อดินทั้งหมดบางองค์มีลักษณะนูนบ้างแบนบ้าง 

สามารถแบ่งได้ 5 พิมพ์

1. พิมพ์ใหญ่

2. พิมพ์กลาง

3. พิมพ์เล็ก

4. พิมพ์ต้อ

5. พิมพ์ตื้น

            พุทธคุณของพระรอดมีความเชื่อกันว่าพระรอดมีความศักดิ์สิทธิ์หรือความขลังในด้านแคล้วคลาดปราศจากภัยอันตรายและความวิบัติต่างๆมีเสน่ห์เมตตามหานิยมได้ลาภผลและคงกระพันชาตรี

 

ที่มา : หนังสือวัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดลำพูนพ..2544

Visitors: 341,813