พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โตพรหมรังสี) เกิดในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่๑) ที่พระนครศรีอยุธยาท่านมีอายุยืนยาวนานถึง๕แผ่นดินโดยในสมัยรัชกาลที่๕ท่านเป็นหนึ่งในบุคคลไม่กี่คนที่อยู่ทันเห็นรัชกาลที่๑พระองค์จริงทั้งนี้เมื่อท่านอุปสมบทรัชกาลที่๑ทรงพระเมตตารับเป็นนาคหลวงอุปสมบทที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โตพรหมรังสี) ท่านเป็นศิษย์ของสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ไก่เถื่อนพระสังฆราชองค์ที่๔แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งเป็นผู้สร้างพระสมเด็จฯอรหังขึ้นทั้งนี้ว่ากันว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โตพรหมรังสี) ได้ดำเนินรอยตามการสร้างพระตามสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ไก่เถื่อนในปีพ.. ๒๔๐๗ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์หลังจากนั้น๒ปีในปีพ.. ๒๔๐๙ท่านได้เริ่มสร้างพระสมเด็จฯวัดระฆังโฆสิตารามสำหรับมูลเหตุในการสร้างพระสมเด็จฯวัดระฆังนั้นเล่ากันว่าเมื่อครั้งที่ท่านขึ้นไปเยี่ยมญาติที่จังหวัดกำแพงเพชรซึ่งเป็นเมืองหนึ่งที่มีชื่อเสียงเรื่องพระพิมพ์ในครั้งนั้นท่านได้พบพระพิมพ์โบราณที่วัดเสด็จซึ่งเป็นวัดร้างท่านจึงได้นำพระพิมพ์เหล่านั้นกลับมาบางส่วนพร้อมทั้งดำริที่ว่าจะสร้างพระเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาเหมือนดังที่คนโบราณได้กระทำมา 

สำหรับมวลสารที่ใช้ในการสร้างพระสมเด็จฯประกอบด้วย

-ปูนขาวเป็นส่วนใหญ่ (เอาเปลือกหอยมาเผาเป็นปูนขาว)

-ผงพุทธคุณซึ่งเกิดจากการเขียนอักขระลงบนกระดานชนวนแล้วลบจากนั้นนำผงที่ได้มาปั้นแล้วนำมาเขียนใหม่ทำแบบนี้ซ้ำๆโดยเริ่มจากผงปถมังผงอิทธิเจตรีนิสิงเหมหาราชและพุทธคุณผงที่ได้จึงมีอานุภาพสูงสุด

-ส่วนผสมอื่นๆได้แก่ใบลานเผาดอกไม้แห้งเศษจีวรพระและเนื้อพระประสานด้วยน้ำมันตังอิ้วเพื่อกันการแตกร้าว สำหรับขั้นตอนกรรมวิธีนั้น

-นำเอามวลสารผสมแล้วนำมาตำเป็นเนื้อพระสมเด็จ 

-ปั้นเป็นแท่งสี่เหลี่ยมตัดออกเป็นชิ้นๆ (เรียกว่าชิ้นฟัก) 

-นำเนื้อพระสมเด็จชิ้นฟักวางลงที่แม่พิมพ์ซึ่งแกะจากหินชนวนแล้วกดเนื้อพระกับแม่พิมพ์ 

-ตัดขอบพระเป็นรูปสี่เหลี่ยมโดยใช้ตอกตัดดอกไม้ไผ่ที่ใช้จักสาน 

สำหรับแม่พิมพ์ของพระสมเด็จฯนั้นเป็นแม่พิมพ์พระอย่างแรกที่เป็นศิลปะแบบ Abstract คือเป็นลายเส้นรูปพระแทนที่จะเป็นแบบที่มีรายละเอียดที่เป็นรูปพระเสมือนองค์จริง

 

พิมพ์มาตรฐานที่วงการพระยอมรับมีอยู่เพียง 5 พิมพ์คือ
1.
พิมพ์ใหญ่สันนิษฐานว่านำรูปแบบมาจากพระประธานสมัยสุโขทัย
2.
พิมพ์เจดีย์มีลักษณะพุทธศิลปสกุลช่างเชียงแสน
3.
พิมพ์เกศบัวตูมพุทธลักษณะคล้ายพระเชียงแสนสิงห์
4.
พิมพ์ฐานแซมมีพุทธศิลปแบบพระบูชาสมัยอู่ทอง
5.
พิมพ์ปรกโพธิ์มีสองแบบคือแบบพิมพ์ฐานแซมกับพิมพ์เกศบัวตูม

ทุกพิมพ์เป็นพิมพ์พระพุทธประทับนั่งขัดสมาธิมีฐานสามชั้นไม่ปรากฏรายละเอียดของพระพักตร์นับว่าเป็นศิลป์สมัยใหม่คือเป็นเพียงลายเส้นพระพิมพ์ก่อนหน้านั้นจะให้รายละเอียดมีพระเนตรพระนาสิกฯลฯถือได้ว่าพระพิมพ์สมเด็จฯมีพุทธศิลปแบบสมัยใหม่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองอีกทั้งทำด้วยผงวิเศษซึ่งนับว่าเป็นของใหม่ (ก่อนหน้านั้นจะทำด้วยดินหรือชิน)
ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google.

Visitors: 342,717