หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พิมพ์ทรงหนุมานใหญ่ทรงเครื่อง

    พระหลวงพ่อปาน” มีหัวใจสำคัญอยู่ที่ “ผงวิเศษ 3 สูตร” ที่บรรจุในองค์พระคือผงวิเศษหัวใจสัตว์ผงวิเศษจากยันต์เกราะเพชรและผงวิเศษ 5 ประการอันประกอบด้วยผงอิทธิเจผงปถมังผงมหาราชผงตรีนิสิงเหและผงพระพุทธคุณทำให้มีพุทธคุณอเนกอนันต์ใช้งานสารพัดอย่างเป็นเลิศ 

พระหลวงพ่อปานลักษณะเป็นพระเนื้อดินเผาทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าเจียนมุมทั้งสี่ด้านเนื้อดินเป็นดินขุยปูและดินนวลตามทุ่งนามีความละเอียดปานกลางจึงมีเม็ดทรายเล็กๆปรากฏทั่วองค์พระสีขององค์พระจะเป็นสีอิฐหรือสีหม้อใหม่เหมือนพระเนื้อดินทั่วไป 

            พุทธลักษณะองค์พระด้านบนเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งแสดงปางสมาธิอยู่เหนือฐานบัลลังก์ก็มีฐานเขียงก็มีฐานผสมก็มีฐานรูปกลีบบัวทั้งบัวชั้นเดียวสองชั้นบัวเม็ดหรือบัวตุ่มก็มี 

ส่วนด้านข้างพระประธานทั้งสองข้างมีอักขระขอมตัวนูนข้างละ 2 ตัวคือมะอะอุอุอันเป็นยอดพระคาถาหัวใจพระไตรปิฎกตรีเพชร’ 

ด้านล่างใต้ฐานขององค์พระลงมาเป็นรูปสัตว์พาหนะ 6 ชนิดคือ

1.พิมพ์ทรงไก่

2.พิมพ์ทรงครุฑ

3.พิมพ์ทรงหนุมาณ

4.พิมพ์ทรงปลา

5.พิมพ์ทรงเม่น

6.พิมพ์ทรงนก

พระหลวงพ่อปานทุกพิมพ์จะมีอุดผงวิเศษ” ส่วนใหญ่ผู้ที่ได้พระมักจะแคะเอาผงวิเศษออกเพื่อนำไปรักษาโรคบ้างหรือตามแต่จะนำไปใช้ปัจจุบันจึงหาที่คงสภาพเดิมๆยากมาก

 

หลวงพ่อปานเกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคมพ..2418 

ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในปีพ..2439 ณพัทธสีมาวัดบางนมโคจ.พระนครศรีอยุธยา 

โดยมี หลวงพ่อสุ่น วัดปลาหมอเป็นพระอุปัชฌาย์ 

พระอาจารย์จ้อย วัดบ้านแพนเป็นพระกรรมวาจาจารย์ 

พระอาจารย์อุ่ม วัดสุธาโภชน์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ 

ได้รับฉายาจากพระอุปัชฌาย์ว่า"โสนันโท"

หลวงพ่อปานท่านได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงพ่อสุ่นอยู่พอสมควร

จึงได้เดินทางไปศึกษาพระปริยัติธรรมณวัดสระเกศกรุงเทพฯและวัดเจ้าเจ็ดในพระนครศรีอยุธยา

และเรียนแพทย์แผนโบราณจากวัดสังเวชฯศึกษาเพิ่มเติมกับหลวงพ่อเนียมวัดน้อย

และพระอาจารย์โหน่งอิณฑสุวัณโณอดีตเจ้าอาวาสวัดคลองมะดัน

เรียนวิชาสร้างพระเครื่องดินจากชีปะขาวเรียนการปลุกเสกพระเครื่องและเป่ายันต์เกราะเพชรจากอาจารย์แจงสวรรคโลก 

ได้รับพระคาถาปัจเจกโพธิสัตว์มาจากครูผึ้งอยุธยา

หลังจากนั้นท่านจึงได้มาอยู่ที่วัดบางนมโคและได้รับพระราชทานสัมณศักดิ์เป็น"พระครูวิหารกิจจานุการ"

หลวงพ่อปานโสนันโทได้ละสังขารไปเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคมพ.. 2481 รวมสิริอายุได้ 63 ปี 42 พรรษา

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google.

Visitors: 341,877