เหรียญหลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดอรัญญิการาม (วัดสามง่าม) รุ่นแรก เนื้อเงิน

เหรียญหลวงพ่อเต๋คงทองรุ่นแรกจัดสร้างขึ้นในปีพ..2486 โดยคณะศิษยานุศิษย์ได้ร่วมกับวัดวัดอรัญญิการาม (วัดสามง่าม) .ดอนตูมจ.นครปฐมขออนุญาตจัดสร้างขึ้น 

เหรียญหลวงพ่อเต๋รุ่นแรก  เป็นเหรียญปั๊มตัดโบราณมีหูในตัว

ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปหลวงพ่อเต๋ห่มจีวรเฉียงบ่าปลายสังฆาฏิแตกด้านหลังมีอักขระโบราณ

ด้านหลังเหรียญเป็นพระพุทธรูปปางลีลามีเส้นแซมตรงส้นเท้าใกล้ฐานดอกบัวมีอักขระโบราณ 5 คำล้อมรอบองค์พระ

เหรียญรุ่นนี้จัดสร้างด้สยกัน 2 เนื้อคือเนื้อเงินและเนื้อทองแดง

 

หลวงพ่อเต๋คงทองวัดสามง่ามเกิดเมื่อวันจันทร์ขึ้น 9 ค่ำเดือน 7 ปีเถาะ  ตรงกับวันที่ 15 มิถุนายนพ.. 2434 ณบ้านสามง่ามจ.นครปฐมเมื่ออายุได้ 7 ปีลุงของท่านซึ่งบวชอยู่ที่วัดกาหลงจังหวัดสมุทรสาคร  มีชื่อว่าหลวงลุงแดง  เป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในขณะนั้นรูปหนึ่ง  ได้ไปเยี่ยมญาติที่บ้านสามง่ามได้พบหลานชายจึงได้ชวนให้ไปอยู่ด้วยกันที่วัดกาหลงเพื่อจะได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือธรรมะและเวทมนต์คาถาเป็นเวลา 3 ปีจนสามารถเขียนอ่านได้เป็นอย่างดีจึงได้กลับมาบ้านเกิด

   เมื่อ หลวงพ่อเต๋ คงทอง มีอายุได้ 15 ปีได้บรรพชาเป็นสามเณร  ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่กับหลวงลุงแดงร่วมจัดสร้างวัดใหม่ไปพร้อมกัน  รวมทั้งได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาอาคมเพิ่มเติมจากหลวงลุงแดงประวัติหลวงลุงแดงท่านเป็นพระเถระที่มีชื่อเสียงโด่งดังและมีความเชี่ยวชาญพุทธาคมทั้งทางด้านเมตตามหานิยมและอยู่ยงคงกระพันชาตรี  มีลูกศิษย์ลูกหาเคารพนับถือมากมาย  อีกทั้งหลวงพ่อเต๋ มีศักดิ์เป็นหลานของท่าน  จึงได้รับถ่ายทอดวิชามาอย่างครบถ้วนโดยไม่มีการปิดบังอำพราง

  ปีพ.. 2454 ท่านมีอายุได้ 21 ปีจึงได้ทำการบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ  โดยมีพระครูอุตตรการบดี (หลวงพ่อทาวัดพะเนียงแตกเป็นพระอุปัชฌาย์พระสมุห์เทศวัดทุ่งผักกูดเป็นพระกรรมวาจาจารย์  และพระอธิการจอมวัดลำเหยเป็นพระอนุสาวนาจารย์  ได้รับฉายาทางธรรมว่า “คงทอง” ภายหลังเปลี่ยนเป็น “คงสุวัณโณแต่ชาวบ้านยังคงเรียกติดปากว่า “คงทอง

พระอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อเต๋  คือหลวงพ่อทาวัดพะเนียงแตก  เป็นพระเถระผู้ทรงเกียรติคุณชื่อเสียงโด่งดังมากในฐานะพระเกจิอาจารย์ที่มีพุทธาคมเข้มขลังในขณะนั้น  หลวงพ่อเต๋ได้ศึกษาเล่าเรียนทั้งทางธรรมสมถกัมมัฏฐาน  ตลอดจนรับการสืบทอดด้านพุทธาคมต่างๆ

   หลวงพ่อเต๋ เริ่มออกธุดงค์ระหว่างปีพ..2455 –2472 เป็นเวลา 17 ปี  รวมทั้งศึกษาวิชาอาคมเพิ่มเติมนอกจากที่ได้ศึกษาจากหลวงลุงแดง  และหลวงพ่อทาหลังจากหลวงพ่อทามรณภาพแล้วท่านได้เดินทางไปขอศึกษาวิชาเพิ่มเติมกับหลวงพ่อแช่มวัดตาก้องจากนั้นออกธุดงค์ไปในที่ต่างๆและได้ศึกษาวิชาเพิ่มเติมกับพระอาจารย์อื่นทั้งพระสงฆ์และฆราวาส  อาทิหลวงพ่อกอนวัดบ่อตะกั่วนอกจากนี้ท่านยังเดินทางไปเรียนกับพระอาจารย์ทางจังหวัดพิจิตรยังมีอีกหลายรูปในขณะที่เดินธุดงค์รวมทั้งอาจารย์ฆราวาสท่านเป็นชาวเขมรเคยเป็นอดีตแม่ทัพเขมร หลวงพ่อเต๋ได้พบอาจารย์ท่านนี้ที่เขาตะลุงจังหวัดกาญจนบุรี  เป็นอาจารย์ที่หลวงพ่อเต๋ เคารพนับถือมาก ในสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่ท่านจะทำการไหว้ครูเขมรมิได้ขาด 

ภายหลังท่านกลับมาพำนักที่วัดสามง่ามได้ 3 ปี  ท่านทำการสร้างวัดสามง่ามต่อจากหลวงลุงแดงที่ฝากฝังไว้ให้ท่านสร้างต่อก่อนจะมรณภาพ

ปีพ.. 2475 กรรมการสงฆ์จังหวัดโดยพระเทพเจติยาจารย์  วัดเสน่หาเจ้าคณะจังหวัดนครปฐมได้พิจารณาแต่งตั้งให้  หลวงพ่อเต๋เป็นเจ้าอาวาสวัดสามง่าม

หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม มรณภาพลงโดยอาการสงบเมื่อวันที่ 25 ธันวาคมพ.. 2524 รวมสิริอายุได้ 80 ปี 59 พรรษา

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google.

Visitors: 341,944