เบี้ยแก้หลวงพ่อพัก วัดโบสถ์ อ่างทอง

เบี้ยแก้ของหลวงพ่อพักเป็นสุดยอดแห่งเครื่องรางของขลังเบี้ยแก้ของหลวงพ่อพักท่านจะเรียกปรอทเข้าตัวเบี้ยแล้วอุดด้วยชันโรงใต้ดินแล้วปิดทับด้วยตะกรุดที่ม้วนแล้วทุบให้แบนแปะทับบนชันโรงจากนั้นจึงถักเชือกทับอีกทีหนึ่งการถักเชือกนั้นจะถักเปิดด้านบนของตัวเบี้ยให้เห็นลายหอยเบี้ยลายถักส่วนมากมักถักเป็นลายกระสอบวนเป็นเส้นรูปไข่ตามตัวเบี้ยการถักห่วงจะถักเป็นด้านหลังสองห่วงหรือด้านบนหูเดียวก็มีบางตัวนั้นอาจจะมีที่ทำเป็นตะกรุดร้อยเชือกคาดเอวก็มีมีทั้งจุ่มรักและไม่จุ่มรักก็มี

หลวงพ่อพักจนฺทสุวณฺโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ท่านเกิดเมื่อปีพ..2425 ที่บ้านท่ามะขามตำบลดอนปรูอำเภอวิเศษชัยชาญ (ปัจจุบันขึ้นกับอำเภอศรีประจันต์สุพรรณบุรี) โยมบิดาชื่อถมยาโยมมารดาชื่อพุกในตอนเด็กๆบิดาของท่านได้นำท่านไปฝากเรียนหนังสือกับหลวงปู่เถื่อนวัดหลวงตำบลยี่ล้นอำเภอวิเศษชัยชาญจนอ่านออกเขียนได้ต่อมาเมื่อหลวงพ่อพักอายุครบ 20 ปีในปีพ..2445 ท่านจึงอุปสมบทที่วัดอ้อยอำเภอวิเศษชัยชาญโดยมีหลวงปู่เถื่อนเป็นพระอุปัชฌาย์

เมื่อท่านอุปสมบทแล้วท่านได้ติดตามท่านเจ้าคุณรัตนมุณีซึ่งเป็นพระพี่ชายของท่านมาอยู่ที่วัดหงส์ฯกทม. เพื่อศึกษาคันถธุระและวิปัสสนากรรมฐานหลวงพ่อพักท่านก็เชี่ยวชาญทั้งคันถธุระโดยเฉพาะทางด้านวิปัสสนากรรมฐานต่อมาในปีพ..2454 หลวงปู่เนตรเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ได้มรณภาพญาติโยมและชาวบ้านแถบบ้านอบทมและบ้านโคกจันทร์จึงได้มานิมนต์หลวงพ่อพักขอให้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดโบสถ์และในปีพ..2455 หลวงพ่อพักก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดโบสถ์

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google

 

Visitors: 341,757