เหรียญสมเด็จชินวรสิริวัฒน์ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กรุงเทพ เนื้อเงินลงยา กรรมการ

เหรียญสมเด็จพระสังฆราชเจ้าชินวรสิริวัฒน์  ช.ส. ปี พ.ศ. ๒๔๘๑ เป็นเหรียญปั๊มรูปกลีบบัวหลังเข็มกลัดแจกกรรมการ

ลักษณะเหรียญด้านหน้าเป็นพระรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ลงยาสีทองประทับนั่งขัดสมาธิบนอาสน์ มีพระนามย่อ ช.ส. ประกอบด้านข้าง อยู่ภายในกรอบพญานาค ๒ ตัวหันหัวออกทั้ง ๒ ข้าง มีฉัตร ๕ ชั้น ลงยาสีขาว ประดับเหนือหัวพญานาคทั้งสอง พื้นหลังองค์พระรูปสมเด็จเป็นลงยาสีน้ำเงิน ด้านหลังเหรียญเป็นเข็มกลัด สันนิษฐานว่าได้สร้างขึ้นเพื่อแจกเป็นที่ระลึกในงานฉลองสมโภชพระรูปใหญ่ เมื่อวันที่ ๔ - ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในกรุงรัตนโกสินทร์พิธีหนึ่ง งานสมโภชพระรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ขนาดใหญ่ ทั้ง ๒ พระรูปที่หล่อเมื่อคราวสร้างวัตถุมงคลพระรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ นั้น พระรูปทั้ง ๒ องค์หนึ่งของวัดราชบพิธ องค์หนึ่งของวัดชินวราราม จังหวัดปทุมธานี กล่าวสำหรับองค์ของวัดราชบพิธ ได้รับการตกแต่งให้เรียบร้อยและปิดทองทั้งองค์พระจากช่างแล้ว ทางวัดราชบพิธได้ดัดแปลงคูหาที่ฐานพระเจดีย์ด้านตะวันตกเพื่อประดิษฐาน พระรูปองค์ใหญ่นั้น จากนั้นคณะกรรมการจัดสร้างพระรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ซึ่งมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เป็นองค์ประธาน มีดำริให้จัดงานฉลองสมโภชเป็นครั้งสุดท้ายตามกำหนดการดังนี้ วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ พระสงฆ์ ๑๐ รูปเจริญพระพุทธมนต์ ตกกลางคืนมีงานมหรสพฉลอง วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ เลี้ยงเพลพระที่เจริญพระพุทธมนต์พร้อมกับพระภิกษุสามเณรวัดราชบพิธทั้งวัด เสร็จแล้วเวียนเทียนสมโภช ในงานฉลองสมโภชครั้งนี้ ได้มีการจัดตั้งโต๊ะลายครามเพื่อเป็นการสักการะและเพิ่มความครึกครื้นแก่งาน อีกด้วย อีกทั้งยังได้มีการจัดพิมพ์หนังสือ ;สรภังคชาดกในจัดตาฬีสนิบาต;ที่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ทรงแปล เป็นที่ระลึกในการจัดงานฉลองสมโภชด้วย และอีกสิ่งหนึ่งที่จัดสร้างเป็นที่ระลึก คือ เหรียญพระรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ เหรียญดังกล่าวสันนิษฐานว่า น่าจะเข้าทำพิธีในวันฉลองสมโภชพระรูปขนาดใหญ่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ เมื่อวันที่ ๔-๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ เป็นที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งว่า ในบันทึกของ พ.อ.พระยาศรีสุรสงคราม ไม่ได้กล่าวถึงการสร้างเหรียญที่ระลึกงานฉลองพระรูปนี้เลย แต่เหรียญดังกล่าวนี้ได้สร้างขึ้นโดยโรงงานคือ ;อมราภรณ์ ;ตึกดิน ซึ่งเป็นโรงงานเดียวกับที่ทำพระรูปขนาดเล็ก ๒ เซนติเมตร เมื่อครั้งที่ ๓ วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ โดยเหตุของการเปลี่ยนปีพุทธศักราชทำกันในวันที่ ๑ เมษายน เดือนมีนาคมที่สร้างเหรียญที่ระลึกงาน จึงเป็นเดือนสุดท้ายของปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ขณะเดือนพฤษภาคมเป็นเดือนที่ ๒ ของปี

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google.

Visitors: 341,753