พระกรุวัดราชบูรณะ พิมพ์ซุ้มจิก เนื้อชินเงิน จ.พระนครศรีอยุธยา

                  กรุวัดราชบูรณะ นับเป็นกรุเก่าแก่ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งกรุหนึ่งของไทยซึ่งล้วนทรงคุณค่าทั้งด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปกรรมการช่างในสมัยโบราณ รวมถึงด้านพุทธศิลปะ จัดเป็นกรุเก่าที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชัดเจน

              "วัดราชบูรณะ" ตั้งอยู่ตำบลท่าวาสุกรี อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา บริเวณเชิงสะพานป่าถ่าน ติดกับวัดมหาธาตุทางบริเวณทิศตะวันออก ห่างจากพระราชวังโบราณ เพียงเล็กน้อย จัดเป็นหนึ่งในวัดที่ใหญ่และมีความเก่าแก่มากที่สุดในพระนครศรีอยุธยา สร้างโดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่2 หรือเจ้าสามพระยา ในปี พ.ศ.1967 

             "พระกรุวัดราชบูรณะ" ไม่ใช่จะมีแต่พระศิลปะอยุธยาตอนต้น หรือตอนกลางเท่านั้น พระสมัยทวารวดี สุโขทัย เชียงแสน ก็มี เป็นการนำของเก่ามาฝากกรุรวมเอาไว้ด้วย ส่วนพระที่สร้างขึ้นในสมัยเจ้าสามพระ ก็มีการสร้างแบบล้อพิมพ์พระเมืองต่างๆ เอาไว้อย่างมากมาย แต่สร้างด้วยฝีมือช่างสมัยอยุธยา พุทธศิลป์จึงย่อมแตกต่างกันไป

             ต่อมาในปี พ.ศ.2499 มีชาวบ้านไปลักขุดหาทองคำและสมบัติอันมีค่าภายในองค์เจดีย์ที่ "วัดราชบูรณะนำออกมาขายในตลาด จนบางคนที่ไปลักขุดหาพระได้กลายเป็นคนบ้าไปก็มี และทางราชการรู้ข่าว จึงได้สั่งให้กรมศิลปากร ทำการปิดล้อมรั้วบริเวณวัดราชบูรณะ พร้อมกับส่งเจ้าหน้าที่จากกรมศิลปากรไปขุดหาสิ่งของมีค่าต่างๆ ในองค์เจดีย์อย่างเป็นทางราชการ ในครั้งนั้น ได้ขุดพบพระเครื่องมากมาย เป็นหมื่นๆ องค์ จึงนำออกจำหน่ายให้ประชาชนส่วนหนึ่ง เพื่อนำรายได้เป็นกองทุนสร้างพิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา เพื่อเก็บรักษาสมบัติต่างๆ 

บรรดาพระพุทธรูปและพระพิมพ์ที่ค้นพบทั้งหมดนี้ส่วนใหญ่เป็นเนื้อชินเงินมีมากกว่า
400 พิมพ์

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google.

Visitors: 342,496