รูปหล่อหลวงพ่อเงิน อาจารย์ชุ่ม วัดท้ายน้ำ ใต้ฐานตอก “ช”

           พระอาจารย์ชุ่ม แห่งวัดท้ายน้ำ ท่านได้เป็นผู้สร้างทั้งได้ปลุกเสกอธิฐานจิตขึ้นเมื่อราวปี ๒๔๘๔ ใต้ฐานตอกโค๊ต “ ช ” เนื้อจัดร่องรอยความเก่าชัดเจน ใช้เทคนิคการหล่อแบบโบราณ การสร้างพระรูปหล่อของหลวงพ่อเงิน ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ใดด็ตาม ช่างไม่ได้สร้างครั้งเดียวและปีเดียว เมื่อปีนี้สร้างมาแล้วหมด พอถึงงานปิดทองไหว้พระในเดือน 11 ของทุกๆ ปี หลวงพ่อท่านได้จัดให้มีงานแข่งเรืออย่างสนุกสนาน ได้มีประชาชนทั่วทุกอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงได้พากันมาเที่ยวงานที่วัดวังตะโกเป็นจำนวนมาก

           ท่านก็ได้ให้ช่างหล่อรูปพิมพ์ต่างๆ ขึ้นมาตามลำดับการเรียกร้องของประชาชนและผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาต่อองค์หลวงพ่อเงินการสร้างรูปหล่อหลวงพ่อเงินเป็นกรณีพิเศษและยังมีข้าราชการ พ่อค้าประชาชนที่เคารพนับถือหลวงพ่อเงินที่มาขออนุญาตท่านหล่อรูปเหมือนโดยนำช่างไปทำการหล่อขึ้นที่วัดวังตะโก และหล่อไปจากกรุงเทพฯก็มี แล้วนำไปมอบให้หลวงพ่อเงินท่านได้แพเมตตาปลุกเสกให้ มีทั้งเนื้อ ทองคำ ,เงิน ,สำริด,ทองเหลือง ,ทองแดงและตะกั่ว เป็นต้น ขึ้นอยู่กับฐานะของแต่และบุคคล ส่วนมากจะเป็นพวกชาวเรือเวลานำข้าว ขึ้น-ล่อง ไปขายที่กรุงเทพฯก็จะพากันมาจอดเรือที่หน้าวัดเป็นประจำ แล้วขออนุญาตจากหลวงพ่อ นำเบ้าและพิมพ์พระไปให้ช่างที่กรุงเทพฯ ทำการหล่อแล้วนำกลับมาให้หลวงพ่อได้ปลุกเสกให้ จะสร้างมากสร้างน้อยเท่าไรนั้นไม่สามารถที่จะทราบจำนานได้ 

           เมื่อตอนหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ ประชาชนได้เห็นความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อ จึงได้ให้ช่างมาทำการหล่อรูปจำลองของท่านไว้จำนวน 2 องค์ ด้วยกัน ตามหลักฐานที่ได้ปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้

องค์ที่ 1 ประจำอยู่วัดวังตะโก บ้านบางคลานหรือวัดหิรัญญาราม

องค์ที่ 2 ประจำอยู่ที่วัดท้ายน้ำ

          วัดท้ายน้ำเป็นอีกวัด ที่หลวงพ่อเงินท่านได้ไปทำการบูรณะก่อสร้างกุฏิ ศาลา วิหาร อุโบสถให้เจริญรุ่งเรืองเหมือนๆ กับวัดวังตะโก 

          หลวงพ่อท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดท้ายน้ำพอๆ กับวัดวังตะโกขณะที่หลวงพ่อได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดท้ายน้ำ ก็ได้มี ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนพากันมามาหาหลวงพ่อเป็นประจำ คณะกรรมการวัดจึงให้ช่างทำการหล่อรูปหลวงพ่อเงินขึ้นที่วัดท้ายน้ำทุกๆ พิมพ์ เพื่อแจกจ่ายจำหน่ายเป็นที่ระลึกแก่ผู้ที่ศรัทธาเลื่อมใส  ต่อมาพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินทุกๆ พิมพ์ ที่จัดสร้างขึ้นที่วัดท้ายน้ำได้หมดไป แต่ยังเป็นที่ต้องการไม่น้อย จนท่านพระครูวัฏะสัมบัญจึงได้ให้ช่างทำการหล่อขึ้นอีกครั้งทุกพิมพ์ คือ พิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม พิมพ์จอบใหญ่ไข่ปลา และพิมพ์จอบเล็กแล้วก็นำไปให้หลวงพ่อเงินแผ่เมตตาปลุกเสกให้แล้วนำมาแจก ที่วัดท้ายน้ำ ต่อมาพระอาจารย์ชุ่ม ที่เป็นลูกศิษย์อุปสมบทกับพรครูวัฏะสัมบัญได้ สร้างรูปหล่อหลวงพ่อเงินขึ้นมารุ่นหนึ่ง เป็นรูปหล่อลอยองค์แบบพิมพ์นิยมของพระครูวัฏะสัมบัญมาถอดพิมพ์ ขณะนี้กำลังได้รับความนิยมและเสาะแสวงหากันมากพอสมควร

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google.

Visitors: 341,856