พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง พิมพ์โบราณ เนื้อสัมฤทธิ์

พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง พิมพ์โบราณ เนื้อสัมฤทธิ์

         หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ธนบุรี กรุงเทพฯ ท่านรสร้างพระปิดตาไว้หลายอย่างด้วยกัน สามารถแยกตามเนื้อได้เป็น เนื้อสัมฤทธิ์ เนื้อตะกั่ว เนื้อผงใบลาน เนื้อผงหัวบานเย็น และเนื้อไม้แกะ 

            พระปิดตา และ พระปิดทวารนี้ จากคำบอกเล่าของผู้หลักผู้ใหญ่บอกต่อกันมาว่า หลวงปู่เอี่ยมท่านสร้างพระปิดตาเนื้อผงและพระปิดตาเนื้อไม้แกะขึ้นก่อน ต่อมาจึงได้สร้างพระ ปิดตาเนื้อตะกั่ว และเนื้อสัมฤทธิ์ จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า 

            ในปีพ.ศ.2436 เมื่อเรือรบของฝรั่งเศสเข้ามาปิดอ่าวสยาม ทหารหาญและชาวบ้านได้เข้ามาขอรับพระจากหลวงปู่เอี่ยมจนล้นหลาม 
            หลวงปู่เอี่ยมท่านได้แจกพระปิดตาเนื้อตะกั่วที่สร้างไว้ก่อนหน้าไปจนหมด หลวงปู่จึงให้พระภิกษุและสามเณรและสานุศิษย์ ช่วยกันเทหล่อพระเนื้อตะกั่วติดต่อกันอีก หลังจากนั้น จึงได้มีการสร้างพระปิดตาเนื้อสัมฤทธิ์ ซึ่งประมาณว่าท่านคงได้สร้างมาตั้งแต่ประมาณปีพ.ศ.2441 ตอนที่ท่านได้มาครองที่วัดหนัง แล้ว และเมื่อคราวบูรณะเขื่อนที่หน้าวัดหนัง ปี พ.ศ.2463 ก็มีการเทพระชัยวัฒน์และ พระปิดตาเนื้อสัมฤทธิ์ เพื่อสมนาคุณแก่ผู้บริจาคเงินช่วยเหลือในครั้งนั้นด้วย

            พระเครื่อง และวัตถุมงคลของหลวงปู่เอี่ยม โดยส่วนใหญ่ท่านจะลงด้วยพระคาถาอักขระยันต์มงกุฎพระพุทธเจ้า เป็นอักขระยันต์ชั้นสูง มีอำนาจคุณวิเศษยิ่ง มีอานุภาพครอบจักรวาล 

            สำหรับพุทธคุณของวัตถุมงคลของหลวงปู่เอี่ยมนั้น เด่นเป็นเลิศในด้าน แคล้วคลาด, คงกระพัน, ชาตรี, เมตตา, โชคลาภ, มหาอุตม์, คุ้มครองป้องกันอันตราย ได้อย่างแน่นอน

 

“พระภาวนาโกศลเถระ” หรือ “หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง” ท่านเกิดเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ปี พ.ศ.2375

หลวงปู่เอี่ยม อุปสมบทที่ วัดราชโอรส เมื่อ ปี พ.ศ.2397 โดยมีพระสุธรรมเทพเถระ (เกิด) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมเจดีย์ (จีน) กับพระภาวนาโกศลเถระ (รอด) เป็นพระคู่สวด

เมื่ออุปสมบทแล้วก็ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดนางนองกับพระภาวนาโกศล (รอด) ศึกษาวิปัสสนาธุระและพุทธาคมกับหลวงปู่รอด หลวงปู่เอี่ยมก็ได้ติดตามหลวงปู่รอดมาจำพรรษาที่วัดโคนอน และศึกษาวิปัสสนาธุระและพุทธาคมกับหลวงปู่รอด จวบจนหลวงปู่รอดมรณภาพลง 

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระวันรัต (แดง) วัดสุทัศน์ ช่วยคัดเลือกหาผู้ที่มีความสามารถเหมาะสมมาปกครองวัดหนัง สมเด็จพระวันรัตได้เลือกหลวงปู่เอี่ยมให้มาเป็นเจ้าอาวาส วัดหนัง ใน ปี พ.ศ.2441 

และต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระภาวนาโกศลเถระ

และได้รับพระราชทานพัดยศงาสานฝ่ายวิปัสสนาธุระ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

หลวงปู่เอี่ยม มรณภาพ เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2469 สิริอายุได้ 94 ปี พรรษาที่ 72

 

Visitors: 341,754