เหรียญหลวงพ่อโต ซำปอกง วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ พิมพ์สามเหลี่ยมใหญ่ เนื้อเงิน

เหรียญหลวงพ่อโต ซำปอกง วัดกัลยาณมิตรกรุงเทพฯ พิมพ์สามเหลี่ยมใหญ่ เนื้อเงิน

            เหรียญหลวงพ่อโต ซำปอกง วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ พิมพ์สามเหลี่ยมใหญ่ จัดสร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ.2470-2485 ปลุกเสกโดยท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจาร (พรหม อินทโชติ) 

              เหรียญหลวงพ่อโต วัดกัลยาณมิตร มีการจัดสร้างหลายวาระ หลายแบบ หลายเนื้อ แต่ละแบบ แต่ละเนื้อ แต่ละพิมพ์ เมื่อมีประชาชนไปนมัสการหลวงพ่อโต ไปบูชาพกพาอาราธนาติดตัวก็เกิดอานุภาพแคล้วคลาดปลอดภัย บันดาลโชคให้สมความปรารถนามากมาย จากคำบอกเล่าศิษย์สายวัดกัลณมิตร และบางครั้งถึงคราวคับขันโรคภัยไข้เจ็บมารุมเร้าเบียดเบียน จุดธูปบูชาพระรัตนตรัย อธิษฐานถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทวยเทพเทวดาให้ดูแลปกป้องรักษา แช่ทำน้ำพระพุทธมนต์อาบดื่มกิน เป็นเรื่องมหัศจรรย์โรคภัยไข้เจ็บหาย

 

            พระพุทธรูปที่มีนามว่า "หลวงพ่อโต" ประดิษฐานอยู่หลายวัดทั่วประเทศ มาเริ่มกันที่จุดใหญ่ในเมืองหลวง "หลวงพ่อโต" ชาวจีนนิยมเรียกว่า "หลวงพ่อซำปอกง" วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ เป็นพระพุทธรูปเก่า มีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพนับถือของบรรดาชาวบ้านในย่านถิ่นนี้ เมื่อใครมีความทุกข์หรือหมดที่พึ่ง ชาวบ้านในย่านฝั่งธนบุรีนิยมไปกราบขอพรบ้าง ขอน้ำมนต์ไปกินไปอาบเพื่อความเป็นสิริมงคลบ้าง เด็กๆ บางคนป่วย 3 วันดี 4 วันไข้ หรือเข้าตำราเลี้ยงยากก็นิยมแก้เคล็ดนำไปยกให้เป็นลูกหลวงพ่อโต ก็มีจำนวนหลายราย บรรดาผู้คนจำนวนมากจะไปร่วมชุมนุมปิดทองไหว้พระในงานประจำปีมีมาตั้งแต่ โบราณกาล

            ตำนาน ประวัติหลวงพ่อย่อๆ ดังนี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงได้มีพระราชดำริที่จะให้วัดในกรุงเทพฯ มีพระโตเหมือนอย่างวัดพนัญเชิง แขวงกรุงเก่า ประจวบกับขณะนั้นเจ้าพระยานิกรบดินทร์กำลังสร้างวัดกัลยาณมิตรอยู่พอดี ทรงเห็นเป็นโอกาสจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระโตพระราชทานช่วยเจ้า พระยานิกรบดินทร์ (โต) ปรากฏตามพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 3 ว่าได้เสร็จก่อพระฤกษ์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม 2380 หน้าตักกว้าง 11.75 เมตร สูง 15 เมตรเศษ เป็นพระพุทธรูปปั้นปางมารวิชัย เดิมเรียกกันว่า “พระโต” ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระราชทานนามว่า "พระพุทธไตรรัตนนายก" ชาวจีนมักนิยมเรียกว่า “ซำป่อฮุดกง” หรือ “ซำปอกง” นับถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่ง ตามคำเล่าลือของชาวบ้านว่าได้เห็นพระอภินิหารหลายอย่างถึงกับมีการเสี่ยงทาย และมีงิ้วทิ้งกระจาดเป็นงานประจำปีสืบมาจนกระทั่งทุกวันนี้

 

Visitors: 341,839