เหรียญหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ รุ่น “สร้างบารมี” ปี พ.ศ.2519 เนื้อนวโลหะ

เหรียญหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่รุ่น “สร้างบารมีปี ..2519 เนื้อนวโลหะ

เหรียญหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา รุ่น “สร้างบารมี” จัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2519 

ลักษณะเป็นเหรียญปั้มรูปไข่ หูในตัว ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อคูณนั่งขัดสมาธิราบเต็มองค์ ด้านล่างเขียนว่า “หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ” ด้านหน้าตอกโค้ดตามแต่ละเนื้อ ด้านหลังเหรียญมีอักขระยันต์อยู่ตรงกลาง ด้านบนเขียนว่า “วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา” ด้านล่างเขียนว่า "รุ่นสร้างบารมี ๒๕๑๙"

จำนวนการจัดสร้างมี 4 เนื้อ คือ

เนื้อทองคำ 19 เหรียญ

เนื้อเงิน 199 เหรียญ 

เนื้อนวโลหะ 999 เหรียญ 

และเนื้อทองแดงรมดำ 2,519 เหรียญ ตามปีที่จัดสร้าง 

โค้ดที่ใช้ตอกเหรียญรุ่นนี้มี 2 ตัว คือ โค้ด “คปร” ย่อมาจาก “คูณปริสุทโธ” ใช้ตอกเนื้อเงิน และเนื้อทองแดง โค้ด “คป” ย่อมาจาก “คูณปริสุทโธ” ใช้ตอกเนื้อนวโลหะ ส่วนเหรียญเนื้อทองคำ เท่าที่พบเห็น ไม่มีการตอกโค้ดอะไรเลย

 

พระเทพวิทยาคม” (คูณ ปริสุทโธ) พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งภาคอีสาน ท่านเกิดเมื่อ 14 ตุลาคม 2466 (แต่บางตำราว่าวันที่ 4 ตุลาคม) ตรงกับวันแรม 10 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน 

เกิดในครอบครัวชาวนา ที่บ้านไร่ หมู่ที่ 6 ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ซึ่งในขณะนั้นนับว่าเป็นพื้นที่ห่างไกลความเจริญ 

หลวงพ่อคูณ ได้เข้าเรียนหนังสือกับ พระอาจารย์เชื่อม วิรโธ พระอาจารย์ฉาย และพระอาจารย์หลี ซึ่งได้เรียนทั้งภาษาไทยและภาษาขอม ที่วัดบ้านไร่ ซึ่งเป็นสถานการศึกษาแห่งเดียวในหมู่บ้าน ตั้งแต่อายุประมาณ 6-7 ขวบ โดยได้ศึกษาภาษาไทยและขอม นอกจากนี้พระอาจารย์ทั้ง 3 ยังเมตตาสอนวิชาคาถาอาคมป้องกันอันตรายต่าง ๆ ให้แก่หลวงพ่อคูณด้วย ด้วยเหตุนี้หลวงพ่อคูณจึงมีความเชี่ยวชาญวิชาอาคมต่าง ๆ มาตั้งแต่สมัยยังเป็นเด็ก 

เมื่ออายุครบ 21 ปีก็ได้เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดถนนหักใหญ่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2487 ตรงกับวันศุกร์ เดือน 6 ปีวอก (หนังสือบางแห่งระบุว่าเป็นปี 2486) โดยมีพระครูวิจารย์ดีกิจ อดีตเจ้าคณะอำเภอด่านขุนทด เป็นพระอุปัชฌาย์ ส่วนพระกรรมวาจาจารย์ ก็คือพระอาจารย์สุข วัดโคกรักษ์ ได้รับฉายาว่า "ปริสุทโธ" 

หลวงวพ่อคูณได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อแดง วัดบ้านหนองโพธิ์ ต.สำนักตะคร้อ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นพระนักปฏิบัติทางด้านคันถธุระและวิปัสสนาอย่างเคร่งครัด และทั้งเป็นพระเกจิอาจารย์พระคณาจารย์ที่เรืองวิทยาคมเป็นอย่างยิ่ง จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้คนและมีลูกศิษย์เป็นจำนวนมาก

จากนั้นหลวงพ่อแดงได้พาหลวงพ่อคูณไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ “หลวงพ่อคง พุทธสโร” เนื่องจากทั้งสองรูปเป็นเพื่อนที่มักมีการพบปะแลกเปลี่ยนธรรมะ ตลอดจนวิชาอาคมต่างๆ แก่กันเสมอ หลวงพ่อคง ได้สอนวิชาต่าง ๆ ให้กับหลวงพ่อคูณ กระทั่งหลวงพ่อคงเห็นว่า หลวงพ่อคูณมีความรอบรู้ชำนาญการปฏิบัติธรรมดีแล้ว จึงแนะนำให้ออกธุดงค์จาริกไปตามป่าเขาลำเนาไพร ฝึกปฏิบัติธรรมเบื้องสูงต่อไป 

โดยในช่วงแรกหลวงพ่อคูณก็ได้เดินธุดงค์ จาริกอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จากนั้นจึงได้มีการธุดงค์ไกลขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงป่าลึกประเทศลาว และประเทศกัมพูชา  เพื่อทำความเพียรให้เกิดสติปัญญา เพื่อการหลุดพ้นจากกิเลส ตัณหา และอุปทานทั้งปวง เมื่อพิจารณาเห็นสมควรแก่การปฏิบัติแล้ว หลวงพ่อคูณธุดงค์จากเขมร กลับมายังประเทศไทย เดินข้ามเขตด้านจังหวัดสุรินทร์ สู่จังหวัดนครราชสีมา กลับบ้านเกิดที่บ้านไร่ 

พร้อมกับเริ่มก่อสร้างถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนาต่าง ๆ โดยเริ่มสร้างอุโบสถในปี พ.ศ. 2496 จากความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้าน จนสามารถสร้างพระอุโบสถจนสำเร็จ ซึ่งปัจจุบันอุโบสถหลังดังกล่าวได้ถูกรื้อลงและก่อสร้างหลังใหม่แทนแล้ว นอกจากนี้หลวงพ่อยังได้สร้างโรงเรียน กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ รวมทั้งขุดสระน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค ขึ้น เพื่อพัฒนาความเจริญของพื้นที่บ้านไร่ และตามมาด้วยการก่อสร้างโรงพยาบาลถึง 3 หลัง และโรงเรียนอื่น ๆ อีกจำนวนมาก พร้อมทั้งยังได้บริจาคเงินทองเพื่อช่วยเหลือสาธารณสุขต่าง ๆ อยู่เสมอ

หลวงพ่อคูณ ท่านมรณะภาพ วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2558 สิริอายุ 92 ปี

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google.

 

Visitors: 341,642