เหรียญพระพรหมสี่หน้า อาจารย์เฮง ไพรวัลย์ พิมพ์รูปไข่ ปี พ.ศ.2472 เนื้อเงิน

“เหรียญพระพรหมสี่หน้า อาจารย์เฮง ไพรวัลย์ พิมพ์รูปไข่
ปี พ.ศ.2472 เนื้อเงิน”

เหรียญพระพรหมสี่หน้า อาจารย์เฮง ไพรวัลย์ จ.พระนครศรีอยุธยา จัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2472 

มีการสร้างทั้งหมด 3 พิมพ์ คือ 

1.พิมพ์รูปไข่ (แบบในรูป) 

2.พิมพ์อาร์ม (แบบโลห์) 

3.พิมพ์สี่เหลี่ยม (ข้ามหลามตัด) 

การจัดสร้างมี เนื้อเงิน, เนื้อนาก และเนื้อทองคำ 

พุทธคุณ ด้านคงกระพัน เมตตามหานิยม

 

ประวัติ “อาจารย์เฮง ไพรยวัล” จากจารึกที่เก็บกระดูกอาจารย์เฮง ณ วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา เขียนไว้ว่า "เกิดเมื่อ พ.ศ.2428 ในสมัยรัชกาลที่ 4 

ตายเมื่อ พ.ศ.2502 สิริอายุ 75 ปี 

พื้นเพท่านเป็นคนบ้านหันตรา จ.พระนครศรีอยุธยา" บิดาท่านเป็นนายตำรวจ หรือผู้ตรวจการณ์คุก โดยบิดาส่งไปเรียนที่ปีนัง สิงคโปร์ แต่เรียนไม่สำเร็จ ท่านเป็นคนชอบเรียนวิชาไสยศาสตร์ ได้ท่องเที่ยวเล่าเรียนมาแต่ทางภาคใต้ ท่านอาจารย์เฮงเป็นเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกับ พระยาเพชรปรีชา มีเพื่อนฝูงเป็นเจ้าพระยาหลายคน

เมื่อท่านเดินทางกลับมายังภูมิลำเนา คือ จ.พระนครศรีอยุธยา คราวเมื่อท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ท่านให้ความสนใจศึกษาตำรับตำราทางไสยศาสตร์ อันว่าด้วยเวทมนตร์คาถา อักขระเลขยันต์ จากจารึกวัดประดู่โรงธรรมอย่างแตกฉาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัย สมเด็จพระพันรัต วัดป่าแก้ว หรือในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.2133-2148) นั้น รวบรวมสรรพวิทยาไสยศาสตร์ โดยจารึกไว้ที่วัดประดู่โรงธรรมนี้อย่างพร้อมสรรพ ตำรับวัดประดู่โรงธรรม เป็นแม่บทของตำราที่ว่าด้วยเวทมนตร์คาถาและอักขระเลขยันต์ ที่มีปรากฏและเล่าเรียนสืบต่อมาตราบเท่าทุกวันนี้

หลังจากท่านอาจารย์เฮงสึกแล้ว ท่านกลับมาครองเพศฆราวาส เริ่มปรากฏชื่อเสียงเกียรติคุณกระเดื่องดังทางเป็นพระอาจารย์ของท่าน เริ่มต้นด้วยการเป็นอาจารย์สักก่อน หลวงปู่สีเล่าว่า ครั้งกบฏบวรเดช ในสมัยรัชกาลที่ 7 (พ.ศ.2476) มีนายทหารและข้าราชการมาให้ท่านสักเป็นจำนวนมาก และจากการที่ท่านอาจารย์เฮงตั้งพิธีสักที่วัดหันตรานั่นเอง ครั้งนั้นท่านอาจารย์เฮงจำเป็นต้องอาราธนาพระสงฆ์มาสวดพุทธมนต์ในพิธีสักนั้นด้วย

ในสมัยนั้น (พ.ศ.2476) ในท้องที่ จ.พระนครศรีอยุธยา หาพระที่สวดพุทธมนต์และพุทธาภิเษกพิธียากมาก ยกเว้น ท่านอาจารย์สี วัดสะแกเท่านั้น เพราะท่านอาจารย์สีเคยลงมาศึกษาอยู่ที่สำนักวัดเลียบ จ.พระนครศรีอยุธยา และมีความเจนจบในเรื่องนี้อยู่ สืบต่อมาเมื่อท่านอาจารย์เฮงจะประกอบพิธีกรรมครั้งใด จำต้องมาอาราธนาท่านอาจารย์สีไปร่วมพิธีทางฝ่ายสงฆ์อยู่เสมอ

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google.

 

Visitors: 342,335