เหรียญหล่อโบราณ หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง รุ่นแรก พิมพ์รูปไข่ เนื้อเหลือง

"เหรียญหล่อโบราณ หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง รุ่นแรก พิมพ์รูปไข่ เนื้อเหลือง” 

"เหรียญหล่อโบราณ หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง" รุ่นแรก สร้างในปี พ.ศ.2478 ในวาระที่ท่านอายุครบ 75 ปี 

การจัดสร้างเหรียญหล่อโบราณ หลวงพ่อไปล่ มีการหล่อหลายวาระ ตามความต้องการของลูกศิษย์ที่มาให้ช่างหล่อให้ หากมีลูกศิษย์นำเนื้อโลหะอะไรมาให้หล่อ ช่างก็จะหล่อให้ตามความประสงค์ และหลวงพ่อจะปลุกเสกให้เป็นคราวๆ ไป 

การหล่อพระครั้งแรก เป็นการหล่อแบบชาวบ้านช่วยกันหล่อขึ้นมา มี 3 พิมพ์ คือ พิมพ์จอบ, พิมพ์รูปไข่ และพิมพ์เสมา เนื้อหามีทั้ง เนื้อทองเหลือง และเนื้อขันลงหิน 

โดยวรรณะของเหรียญจะแตกต่างกัน เพราะนำโลหะที่พอจะหาได้ที่วัดและของชาวบ้านมาหล่อ 

การหล่อพระครั้งที่สอง เป็นการจ้างโรงหล่อพระ หล่อเหรียญขึ้นมา มีแค่ พิมพ์จอบ กับ พิมพ์รูปไข่ 

พระที่หล่อออกมาทั้ง 2 ครั้ง จึงมีวรรณะของเนื้อที่แตกต่างกัน 

เพราะที่หล่อที่วัดอาจจะมีโลหะหลายๆ อย่างผสมกันแต่หนักที่ทองเหลือง

ส่วนที่หล่อที่โรงหล่อ จะเป็นเนื้อทองเหลืองล้วนๆ จึงจำแนกออกมาให้ละเอียดขึ้น เรียกกันว่า พิมพ์ชาวบ้าน กับ พิมพ์โรงหล่อ

ลักษณะโดยรวม ของเหรียญหล่อโบราณ หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง 

1.เหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่ มี 2 แบบ ได้แก่ เหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่ เนื้อทองเหลือง พิมพ์มาตรฐาน

และ เหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่ เนื้อสัมฤทธิ์ พิมพ์ชาวบ้าน

ลักษณะเป็นเหรียญหล่อทรงจอบ มีเส้นโค้งนูนโดยรอบเหรียญ 2 เส้น ด้านบนเหรียญมีหูหล่อในตัวซึ่งทำทีละอัน ขนาดจึงไม่เท่ากันด้านหน้า เป็นรูปพระสงฆ์ (ไม่มีเกศ) นั่งขัดสมาธิราบบนฐานชั้นเดียว ด้านหลัง มีอักษรไทย นูนสูง เขียนว่า "ที่ ระฤก ๒๔๗๘"

2.เหรียญหล่อ พิมพ์รูปไข่ มี 2 เนื้อ คือ เนื้อทองเหลือง และเนื้อสัมฤทธิ์ลักษณะเหรียญ รูปทรงเหรียญเป็นรูปไข่ มีหู หล่อในตัวด้านบน ด้านหน้าเป็นรูปพระสงฆ์ (ไม่มีเกศ) นั่งขัดสมาธิราบบนฐานเขียงคล้ายกับเหรียญจอบใหญ่ 

ด้านหลัง มีอักษรไทย เขียนว่า “ที่ระฤก ๒๔๗๘“

3.เหรียญหล่อ ทรงเสมา เนื้อสัมฤทธิ์ (มีพบน้อยมาก)

ลักษณะเป็นเหรียญรูปทรงเสมา ด้านบน มีหูหล่อในตัว 

ด้านหน้าเป็นรูปพระสงฆ์ (หลวงพ่อไปล่) อยู่ในกรอบรูปเสมา 

ด้านหลัง มีแบบหลังเรียบ และแบบหลังมีอักษรไทย

 

หลวงพ่อไปล่วัดกำแพง ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2403 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านเป็นชาวบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี (ฝั่งธนบุรี) ในปัจจุบัน ในสกุลทองเหลือ พื้นเพเป็นชาวบ้านตำบลบางบอนใต้ เขตบางขุนเทียน เป็นบุตรของนายเหลือและนางทอง มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาเดียวกัน 5 คน ในช่วงวัยเยาว์ ท่านได้เรียนหนังสือกับพระอาจารย์ทัด วัดสิงห์ ฆราวาสผู้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และในสมัยนั้น บ้านบางบอน เป็นดินแดนเก่าของนักเลง และเวลามีงานว้ด ก็จะตีประจำ นายไปล่จึงเป็นลูกพี่ของคนในหมู่บ้านนั้น ต่อมาเมื่อมีอายุได้ 23 ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อปี พ.ศ. 2426 โดยมี อาจารย์ทัด วัดสิงห์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อพ่วง วัดกก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อดิษฐ์ วัดกำแพง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีนามฉายาว่า “ฉันทสโร” หลังจากอุปสมบทได้ 2 พรรษา ท่านก็สามารถสวนบทปาฏิโมกข์ได้ และในกาลต่อมา ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ในเขตบางขุนเทียน และมีผู้ศรัทธามาก ท่านดำรงตำแหน่งพระอุปัชฌาย์ จนถึงมรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2489 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รวมสิริอายุได้ 86 ปี 63 พรรษา

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google.

 

Visitors: 341,730