พระปิดตาพิมพ์ข้าวตอกแตก หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง

“พระปิดตาพิมพ์ข้าวตอกแตก หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง” 

พระปิดตาข้าวตอกแตก หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ธนบุรี กรุงเทพฯ มีอยู่สามขนาด คือ ขนาดใหญ่ไม่ตัดขอบ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ทั้งสามขนาดเป็นพระพิมพ์เดียวกันหมด แต่มีขนาดต่างกันตามความยืดของแม่พิมพ์ 

การสร้างพระปิดตา ข้าวตอกแตกเนื้อตะกั่วนั้น หลวงปู่เอี่ยม ท่านจะนำตะกั่วถ้ำชา ซึ่งเป็นตะกั่วที่ห่อใบชาจากเมืองจีน(สีคล้ำๆ) เป็นวัสดุในการสร้าง 

หลวงปู่เอี่ยม ท่านจะทำการลงเหล็กจาร ประจุพลังลงไปในแผ่นตะกั่วแล้วรีดหลอมออกมาเป็นแผ่น จากนั้นก็ลงเหล็กจาร รีดหลอม ทำซ้ำๆ อย่างนี้หลายต่อหลายรอบจนท่านเห็นว่าดีแล้ว จากนั้นก็ทำการหล่อหลอมออกมาเป็นพระปิดตา 

พอได้จำนวนที่ต้องการท่านก็จะนำพระปิดตาทั้งหมดมาใส่ไว้ในบาตร กำหนดสมาธิจิตบริกรรมคาถาพระเวทย์จนองค์พระปิดตากระแทกกับบาตรกระทั่งเกิดเสียงกระทบราวกับเสียงที่เกิดขึ้นในขณะที่คั่วข้าวตอก จึงเป็นที่มาของชื่อเรียก “ปิดตาข้าวตอกแตก”

สำหรับพุทธคุณของปิดตาข้าวตอกแตกนั้น นักเลงรุ่นเก่าจนถึงยุคปัจจุบันให้การยอมรับว่าเหนียวสุดๆ ทั้งแคล้วคลาด คงกระพัน คุ้มครองป้องกันอันตรายได้อย่างแน่นอน

 

“พระภาวนาโกศลเถระ” หรือ “หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง” ท่านเกิดเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ปี พ.ศ.2375

หลวงปู่เอี่ยม อุปสมบทที่ วัดราชโอรส เมื่อ ปี พ.ศ.2397

โดยมีพระสุธรรมเทพเถระ (เกิด) เป็นพระอุปัชฌาย์

พระธรรมเจดีย์ (จีน) กับพระภาวนาโกศลเถระ (รอด) เป็นพระคู่สวด

เมื่ออุปสมบทแล้วก็ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดนางนองกับพระภาวนาโกศล(รอด) 

ศึกษาวิปัสสนาธุระและพุทธาคมกับหลวงปู่รอด หลวงปู่เอี่ยมก็ได้ติดตามหลวงปู่รอดมาจำพรรษาที่วัดโคนอน 

และศึกษาวิปัสสนาธุระและพุทธาคมกับหลวงปู่รอด จวบจนหลวงปู่รอดมรณภาพลง

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระวันรัต(แดง) วัดสุทัศน์

ช่วยคัดเลือกหาผู้ที่มีความสามารถเหมาะสมมาปกครองวัดหนัง 

สมเด็จพระวันรัตได้เลือกหลวงปู่เอี่ยมให้มาเป็นเจ้าอาวาส วัดหนัง ใน ปี พ.ศ.2441

และต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระภาวนาโกศลเถระ

และได้รับพระราชทานพัดยศงาสานฝ่ายวิปัสสนาธุระ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

หลวงปู่เอี่ยม มรณภาพ เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2469 สิริอายุได้ 94 ปี พรรษาที่ 72

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google.

 

Visitors: 342,529