พระผงวัดรังษีสุทธาวาส พิมพ์ใหญ่

“พระผงวัดรังษีสุทธาวาส พิมพ์ใหญ่” 

“พระผงวัดรังษีสุทธาวาส” สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในราว ปี พ.ศ.2437- พ.ศ.2439 จากเอกสารการโปรดเกล้าฯ ให้ “วัดรังษีสุทธาวาส” ขึ้นกับวัดบวรนิเวศวิหาร ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นหลักฐานว่า ในช่วงปี พ.ศ.2442 พระธรรมกิติ (แจ้ง) ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดรังสีสุทธาวาสอยู่แล้ว 

“พระผงวัดรังษีสุทธาวาส” ส่วนผสมของมวลสารจะเป็นเอกลักษณ์ที่ใกล้เคียงกับพระสมเด็จวัดระฆังฯ มากที่สุด สำหรับพุทธศิลป์จะแตกต่างไปจากพระสมเด็จวัดระฆังฯ 

ลักษณะ “พระผงวัดรังษีสุทธาวาส พิมพ์ใหญ่” เป็นพระที่มีทรวดทรงของพระกริ่ง ประทับลงบนแท่น ซึ่งประดับด้วยบัว 7 กลีบ องค์พระเป็นยุคเชียงแสน นั่งขัดสมาธิเพชร มีน้ำเต้าพระพุทธมนต์อยู่บนฝ่าพระหัตถ์ซ้าย เศียรมีหน้ามีตาคมชัดทุกส่วน มีโหนกคิ้วทั้งสองข้าง มีนัยตาเนื้อ คือมีปูนออกมา มีจมูกและปากเป็นกระจับ มีเกศเป็นตุ้มเกศดอกบัว หูทั้งสองข้างชัดเจน มีลักษณะใบหูใหญ่และมีปลายหูที่ยาวจรดบ่า ผ้าสังฆาฏิจะพาดลงมาที่เอว ใต้น้ำเต้าพระพุทธมนต์ 

พระผงวัดรังษี มีหลายพิมพ์ ทุกพิมพ์ มีทั้งชนิดปิดทองและไม่ปิดทอง 
 

“วัดรังษีสุทธาวาส” เป็นวัดโบราณ สถาปนาขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย บนพื้นที่ริมกำแพงพระนคร ด้านเหนือของกรุงรัตนโกสินทร์ 

ผู้สร้างวัดรังษีสุทธาวาส คือ พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดรักษ์ (พระเจ้าหลานเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) 

ตามจารึก ที่ปรากฏบนผนังพระอุโบสถวังรังษีสุทธาวาส วัดแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2366 ใช้เวลาในการก่อสร้างทั้งหมด 6 ปี พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ ทรงเอาใจใส่ในการก่อสร้างเป็นอย่างยิ่ง ทรงพระอุตสาหะในการทำหน้าที่เป็นนายช่างและตรวจตราการก่อสร้างด้วยพระองค์เอง 
ดังข้อความที่ปรากฎในจารึกว่า "พระพุทธศักราชล่วง 2366 พระวษาปีมะแมนักสัตว เบญศก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ จ้าวฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ ทรงพระราชศรัทธา ถาปะนาจับส้างพระอารามนี้ ทรงพระอุสาหะกระทำพระองค์เปนนายช่าง บอกการงานให้แบบหย่าง ตรวจตราติเตียนด้วยพระองค์เอง 6 ปีจนแล้วสำเรธิ์บริบูรณ์  จึ่งให้นามวัดรังษีสุทธาวาส "  

ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสุดเกิดเมื่อปี พ.ศ.2458 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงดำริที่จะรวมวัดรังษีสุทธาวาส ซึ่งกำลังเสื่อมโทรมอย่างเต็มที่เข้ากับวัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อจะได้ทรงจัดการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ในครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ดำเนินการได้ตามพระประสงค์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส จากนั้นเป็นต้นมาก็เหลือแต่คณะรังษี และมาเป็นคณะเหลืองรังษี ซึ่งเป็นคณะหนึ่งในวัดบวรนิเวศวิหารในปัจจุบัน 

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google.

 

Visitors: 342,675