พระกรุนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

“พระกรุนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม”

พระพิมพ์ดินเผา “กรุพระนาดูน” ขุดพบเมื่อ ปี พ.ศ.2522 ที่ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

เป็นพระพิมพ์ดินเผาฝีมือช่างประจำราชสำนัก สร้างไว้เพื่อเป็นพุทธบูชาสืบต่อพระพุทธศาสนา 

พระพิมพ์ดินเผากรุพระนาดูน  มีพุทธศิลป์ ลวดลายลีลาอ่อนช้อยสวยงาม และเป็นศิลปะสมัยทวาราวดี

มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 (หรือประมาณ  1,300 ปี)

เนื้อพระพิมพ์แข็งแกร่งมาก พระพิมพ์บางองค์กลายเป็นเนื้อหิน

สีเนื้อพระมี 5  สี คือ

1.สีหิน (น้ำตาลแก่) 

2.สีเหลืองอ่อน หรือสีเหลืองมันปู 

3.สีชมพู

4.สีแดงหินทราย

5.สีขาวนวล (สีเท่าอ่อน) 

ในพระพิมพ์เกือบทุกพิมพ์จะมีรูปเจดีย์ และสถูปจำลองปรากฎอยู่เสมอ

และเป็นพระพิมพ์เล่าเรื่องพุทธประวัติที่มีความหมายอยู่ในตัว

พระพิมพ์ดินเผากรุพระนาดูนที่ขุดพบได้นำตัวอย่างไปวิเคราะห์หาส่วนผสม โดยคุณโสดา รัตนิน  แห่งมหาวิทยาลัยโอตาโก ประเทศนิวซีแลนด์  ซึ่งขณะนั้นได้ปฏิบัติงานอยู่ที่โครงการโบราณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

จาการวิเคราะห์ปรากฎว่า ส่วนผสมหลัก ได้แก่ ศิลาแลง, ดินเหนียว, แกลบข้าว, ทราย, กรวด, ในตัวอย่างบางชิ้นมีเมล็ดข้าวผสมอยู่ด้วย

ส่วนผสมที่ใช้มาก ได้แก่ “ทราย”  ซึ่งเมื่อเผาแล้วจะทำให้เนื้อดินมีความแกร่งมาก   

ลักษณะการเผาจะเผาแบบกลางแจ้งอุณหภูมิไม่คงที่ จึงทำให้สีของพระพิมพ์ดินเผาแตกต่างกัน

ลักษณะของพระพิมพ์ดินเผากรุพระนาดูน  สามารถแบ่งออกได้เป็น  6 พิมพ์ คือ

1.แบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า มี 20 แบบพิมพ์

2.แบบฐานสี่เหลี่ยมยอดโค้ง มี 10 แบบพิมพ์

3.แบบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มี 7 แบบพิมพ์

4.แบบสามเหลี่ยมรูปใบไม้หรือรูปหอย มี 3 แบบพิมพ์

5.แบบสี่เหลี่ยมจตุรัส มี 1 แบบพิมพ์

6.แบบลอยตัวองค์เดียว มี 11 แบบพิมพ์

พระพิมพ์ดินเผากรุพระนาดูนมีแบบพิมพ์ในรูปลักษณ์ต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 52 แบบพิมพ์ 

และความสำคัญของพระพิมพ์แต่ละชิ้น  ความแตกต่างดังกล่าวย่อมมีความหมายอยู่ในตัวเอง 

อีกทั้งยังบอกถึงคติความเชื่อลัทธิศาสนาที่แฝงอยู่ด้วย 

ศาสตราจารย์ยอร์ซ  เซเดส์ (G.COEDES) ได้กล่าวไว้ว่า “พระพิมพ์ในสมัยโบราณไม่ได้แสดงแต่เพียงรูปพระพุทธองค์แต่อย่างเดียว แต่ได้แสดงถึงพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่ง หรือสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งเป็นการเฉพาะ” 

ซึ่งข้อความดังกล่าวปรากฎให้เห็นในพระพิมพ์ดินเผากรุพระนาดูนอย่างเด่นชัดอยู่แล้ว

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google.

Visitors: 342,707