พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ปี พ.ศ.2485

พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ปี พ.ศ.2485

พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ปี พ.ศ.2485 จากหลักฐานบันทึก การสร้าง ได้ระบุไว้ว่า
การจัดสร้างพระเครื่อง คณะผู้ดำเนินงานได้ใช้กรรมวิธี 2 แบบ คือ "หล่อ" และ "ปั๊ม"
พระหล่อ จัดสร้างประมาณ 90,000 องค์ เป็นพระเนื้อโลหะผสม โดยมีทองเหลือง เป็นหลัก
แต่สุดท้าย คัดเหลือ สภาพสมบูรณ์ 84,000 องค์ ซึ่งให้ความหมายเท่ากับพระธรรมขันธ์
เสน่ห์ของพระเครื่องพระพุทธชินราชแบบหล่อจะอยู่ที่ผิวพระและโค้ดใต้ ฐาน จะตอกเป็นรูปตรา "ธรรมจักร" และ "อกเลา"
ซึ่งอกเลานี้ได้คัดลอกแบบ มาจากรูปอกเลาที่ติดอยู่หน้าบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดใหญ่) จ. พิษณุโลก
พระพุทธชินราชแบบหล่อนี้ในตอนแรกได้หล่อ "อกเลานูน" ติดไว้บริเวณใต้ฐานพระ
แต่ภายหลังได้เปลี่ยนเป็นก้นเรียบ แล้วใช้วิธีตอกโค้ดแทนจนครบ 84,000 องค์ ดังนั้นพระในส่วนที่เหลือจึงไม่ได้ตอกโค้ด
ในส่วนของราคาทางพุทธสมาคม นำออกให้เช่า บูชาองค์ละ 1 บาท
ถ้าองค์ไหนที่สภาพ สวยสมบูรณ์ราคาจะอยู่ที่ 1.50 บาท
การจัดสร้างได้ประกอบพิธี เททองหล่อ ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
ในวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 3 ตรงกับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2485 ก่อนที่คณะกรรมการ พุทธสมาคมจะมากราบทูลขอพระเมตตา
ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) วัดสุทัศนเทพวราราม ในเรื่องการประกอบพิธีพุทธาภิเษก
พระองค์ทรงพระเมตตาให้คณะกรรมการพุทธสมาคมนำพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน
ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม ในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2485
โดยมีท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) เป็นองค์ประธาน
และท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นแม่งานผู้ดำเนินการ
พร้อมทั้งได้ ทำพิธี เททองหล่อพระตามตำรับตำราการสร้างพระกริ่ง
พระชัยวัฒน์ของวัดสุทัศน์อย่างถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์
พิธีพุทธาภิเษกที่จัดขึ้นในเวลานั้นถือว่ายิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์ จนเป็นที่กล่าวขวัญมาถึงทุกวันนี้
เพราะพระคณาจารย์ ทั่วประเทศ และพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นได้มอบแผ่นพระยันต์
พร้อมทั้งเดินทางมาร่วม เมตตาอธิษฐานจิต กันอย่างมากมาย
ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google.

Visitors: 341,790