พระกรุวัดท้ายตลาด

"พระกรุวัดท้ายตลาด"

พระกรุ วัดท้ายตลาด ศิลปะของพระเครื่องกรุวัดท้ายตลาดนั้น สวยงามยิ่ง สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นฝีมือช่างหลวง
เนื่องจากวัดท้ายตลาดเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์

พระวัดท้ายตลาดที่พบเป็นพระเนื้อผงผสมผงใบลาน ลักษณะของเนื้อพระคล้ายกับพระสมเด็จปิลันทน์
มีคราบนวลกรุจับที่ผิวของพระ และมีไขขาวจับอยู่ทั่วไป
ที่ด้านหลังส่วนมากจะมีรอยตราประทับเป็นอักขระกดลึกลงไปในเนื้อพระ มีพิมพ์พระต่างๆ มากมายหลายแบบ

ตามประวัติแล้วเป็นพระที่สร้างโดย พระวิเชียรมุนี อดีตเจ้าอาวาสองค์ก่อน ท่านเจ้าคุณสนิท 

พร้อมทั้ง หลวงพ่อแย้ม และ หลวงพ่อกลิ่น พระอาจารย์สายกรรมฐาน ผู้ทรงกิตติคุณของพระอารามแห่งนี้ได้สร้างบรรจุไว้
ในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประมาณ ปี พ.ศ.2431

การเปิดกรุนั้น ได้มีคนร้ายลักลอบเจาะพระเจดีย์ราย 2 องค์ ทรงด้านทิศใต้อยู่หลายครั้ง และทางวัดก็อุดซ่อมอยู่เสมอ
ประมาณ ปี พ.ศ.2480-2485 คราวกรณีพิพาทอินโดจีน ทางราชการกระทรวงกลาโหม ได้มีหนังสือขอพระเครื่องฯ มายังสำนักนี้
เพื่อมอบให้กับทหาร และตำรวจสนามเช่นเดียวกับที่ขอไปยังสำนักอื่นๆ
พระประสิทธิศีลคุณ เจ้าอาวาสในสมัยนั้น จึงได้ดำริให้ขุดพระเจดีย์ในวัด และได้พระเครื่องฯ ออกมาเป็นจำนวนมาก
และได้พบพระเครื่องอีกส่วนหนึ่งซึ่งบรรจุปี๊บบัดกรีบนเพดานพระอุโบสถ และเพดานหอสมเด็จฯ อีกด้วย
จากนั้นทางวัดจึงได้จัดพระเครื่องจำนวนหนึ่งมอบให้ทางราชการไป เป็นพระพิมพ์ต่างๆ หลายชนิด

วัดโมลีโลกยาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิด ราชวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์ สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ตั้งอยู่หลังพระราชวังเดิมครั้งกรุงธนบุรี ริมคลองบางกอกใหญ่ (คลองบางหลวง) ฝั่งเหนือ
แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
วัดนี้เป็นวัดโบราณ ไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อพุทธศักราชเท่าใด และใครเป็นผู้สร้าง
มีชื่อเรียกทั่วไปว่า "วัดท้ายตลาด" มาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา จนถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์ปัจจุบัน
ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google.

Visitors: 341,545