พระกรุวัดสามปลื้ม

"พระกรุวัดสามปลื้ม"

พระกรุวัดสามปลื้ม เป็นพระศิลปะสกุลช่างราษฎร์ ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น
องค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิ ทั้งสมาธิเพชร และสมาธิราบ
เหนืออาสนะฐาน 3 ชั้น มีผ้าทิพย์อยู่ตรงกลางฐานบนและฐานกลาง
นอกจากนี้ยังมากมายหลายพิมพ์และหลายรูปทรง ทั้งพิมพ์ห้าเหลี่ยม สามเหลี่ยม และกลีบบัว, เกศแหลม
และไม่มีเกศ หรือที่เรียกกันว่า "เศียรโล้น" และยังมีทั้งขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก
พระกรุวัดสามปลื้ม มีอายุมากกว่า 150 ปี ไม่มีหลักฐานระบุ ถึงผู้สร้างเป็นที่แน่ชัด สันนิษฐานเป็น 2 ประเด็น คือ
ประเด็นที่ 1.พระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นผู้สร้างบรรจุในพระเจดีย์
หลังจากบูรณะเป็นที่เรียบร้อย เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา สร้างกุศลแก่บิดาผู้ล่วงลับ
ประเด็นที่ 2.พระอาจารย์พรหม และพระอาจารย์ช้าง สองพระเกจิอาจารย์ผู้เก่งกล้าวิทยาคม
ที่อยู่ "คณะกุฏิ" ณ วัดสามปลื้ม เมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นผู้สร้าง ขณะนั้น พระธรรมานุกูล (ด้วง) เป็นเจ้าอาวาส

มีหลักฐานระบุการพบไว้ว่า "พระกรุวัดสามปลื้ม" มีการค้นพบทั้งสิ้น 3 ครั้ง
ครั้งแรก ประมาณการว่าในราว ปี พ.ศ.2400 โดยพบอยู่ในซากพระเจดีย์
ครั้งต่อมาใน ปี พ.ศ.2414 และ ปี พ.ศ.2483 เมื่อมีการรื้อองค์พระเจดีย์
จากบันทึก การพบครั้งสุดท้ายนั้นพบถึง 50,000 กว่าองค์ รวมแล้วมีจำนวนพระประมาณ 84,000 องค์ เท่าจำนวนพระธรรมขันธ์พอดี

ลักษณะเนื้อหามวลสาร เป็นพระเนื้อผงเนื้อละเอียด สีขาว แก่น้ำมันตั้งอิ้ว มีลักษณะยุ่ยฟู แตกเปราะ และหักง่าย
พระที่พบส่วนใหญ่หาองค์สวยสมบูรณ์ค่อนข้างยาก และพระเกือบทั้งหมดลงรักปิดทองมาจากกรุ
นอกจากนี้ยังมี ผู้พบเห็นชนิดผงดำผสมใบลานเผา, เนื้อตะกั่ว
และ เนื้อชิน มีผู้พบเห็นจากเจดีย์เมื่อคราวแตกกรุ แต่มีจำนวนน้อยมาก

วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร หรือ วัดสามปลื้ม เป็นวัดโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีชื่อเดิมว่า "วัดนางปลื้ม" (อาจเป็นนามผู้สร้าง)
ต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดสามปลื้ม"
ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้เกิดเพลิงไหม้ ต่อมาปลายรัชกาลที่ 1-รัชกาลที่ 2 ท่านเจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น บรรพบุรุษสกุล สิงหเสนี)
ได้เป็นผู้ริเริ่มการบูรณปฏิสังขรณ์ แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จก็ถึงแก่อสัญกรรม
จากนั้นในราว ปี พ.ศ.2362 เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ ต้นสกุล สิงหเสนี) ผู้เป็นบุตร ได้สืบสานต่อจนแล้วเสร็จใน ปี พ.ศ.2368
แล้วน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้รับพระ ราชทานนามใหม่ว่า "วัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร"
ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google.

Visitors: 341,612