พระขุนแผนกรุ วัดบ้านกร่าง

พระขุนแผน พิมพ์ ทรงพลเล็ก กรุวัดบ้านกร่าง
วัดบ้านกร่าง ตั่งอยู่ ต.บ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณ เป็นวัดเก่าแก่ สร้างมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง เหตุที่รู้ว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนกลางก็เพราะดูได้จาก รูปแบบการสร้างพระอุโบสถ พระประธาน และเจดี ที่เป็นแบบ ย่อมุมไม้สิบสอง ซึ่งเป็นรูปแบบการสร้างเจดีย์ที่นิยมสร้างในสมัย กลางอยุธยา เช่น พระเจดีย์ศรีสุริโยทัย และพระเจดีย์ภูเขาทอง เป็นต้น (บางคนอาจสงสัยว่า อาจารย์ อยุธยาตอนต้น ตอนกลางและตอนปลาย เขานับยังไง ตอนต้นก็นับตั่งแต่ พระเจ้าอู่ทอง จนถึง สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ตอนกลางนับ ตั่งแต่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จน ถึงสมัยสมเด็จพระนารายมหาราช ตอนปลายก็ตั่งแต่พระเพทราชา จนถึง พระเจ้าเอกทัศ ) วัดบ้านกร่างไม่ใช่วัดใหญ่เป็นวัดขนาดเล็กตั่งอยู่กลางหมู่บ้านและติดแม่ ด้านข้างติดโรงสี ในวัดก็ดูสงบดี
พระกรุวัดบ้านกร่าง หรือ ขุนแผนบ้านกร่าง นั้น ไม่มีประวัติการสร้างที่แน่นอน แต่จากหลักฐานที่ปรากฎต่างๆทำให้สันนิฐานได้ว่าพระนเรศวรเป็นผู้สร้างไว้ แล้วตามความคิดเห็นของ อาจารย์ ถ้าจะบอกว่าพระกรุวัดบ้านกร่างนั้นพระนเรศวรเป็นผู้สร้าง ก็ดูจะเป็นคำกล่าวที่ไม่เกินความจริง กล่าวคืออาจมีความเป็นไปได้ ทำไม อาจารย์ถึงคิดแบบนี้ อันนี้ก็มีเหตุผล เหตุผลข้อแรกก็คือ การที่คนสมัยก่อนจะสร้างพระเพื่อเป็นพุทธบูชานั้น จะต้องเป็นคนที่มีอำนาจบารมี ตลอดจนกำลังทรัพย์ที่มากพอควร เพราะพระมีจำนวนถึง 84,000 องค์ ไม่ใช่ลำพังคน สองคนก็ทำได้ ไม่ต้องพูดถึงสมัยก่อน ขนาดสมัยนี้ มีเครื่องมือกดพระที่ทันสมัย จะทำพระ84,000 องค์ ก็ต้องใช้เวลาเป็นอาทิตย์ สอง อาทิตย์ แล้วสมัยก่อนที่ต้องทำด้วยมือล้วนๆละ จะต้องใช้คนกี่คนทำ ก็ลองนึกดู เหตุผลข้อที่สอง ดูจากศิลปะบนองค์พระก็พอจะรู้ได้ว่า ช่างที่แกะแม่พิมพ์ต้องเป็นฝีมือช่างหลวงอย่างแน่นอนเพราะมีความอ่อนช้อยงดงามอย่างมาก หากเป็นช่างชาวบ้านแกะพิมพ์รูปแบบก็คงไม่งดงามเช่นนี้ได้ อีกทั้งยังมีประวัติชัดเจนว่าสมเด็จพระนเรศวร ได้ทรงสร้างวัดและเจดีขึ้นเพื่อ ฉลองชัยชนะโดยให้ชื่อว่า วัดใหญ่ชัยมงคล โดยมีเจดีย์สูงสง่างามที่เรียกว่า เจดีชัยมงคล ที่กรุงศรีอยุธยา โดยมีการสร้างพระพิมพ์เพื่อบรรจุอยู่ภายในเจดีย์ โดยพระพิมพ์เหล่านั้นเราเรียกว่า ขุนแผนเคลือบกรุวัดใหญ่ชัยมงคล หากท่านสังเกตดูพุทธศิลป์ พิมพ์ทรงของขุนแผนกรุวัดใหญ่ชัยมงคล มีความคล้ายคลึงกับขุนแผนพิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่และพิมพ์แขนอ่อน ของกรุวัดบ้านกร่างไม่มีผิดเพี้ยน ที่เป็นเช่นนี้ก็แน่นอนว่าเป็นช่างหลวงคนเดียวกันเป็นคนสร้างไว้ไม่ผิดแน่ เหตุผลข้อที่สาม วัดบ้านกร่าง อยู่ในเส้นทางที่สมเด็จพระนเรศวรเดินทางผ่านมาทำศึกกับหงสาวดีในสมัยก่อน ดั้งนั้นก็ไม่แปลกถ้ากองทัพของพระนเรศวรที่ ชนะศึกหงสาวดี จะมาพักทัพในบริเวณวัดบ้านกร่างแล้วก็สร้างวัดและพระพิมพ์เพื่อเป็นพุทธบูชาที่ชนะสึกพม่า โดยมี ทหาร และชาวบ้านช่วยกันกดพระ 
ส่วนคำว่าพระขุนแผนนั้นคงตั้งมาในภายหลังเนื่องจากเป็นพระเครื่องเมืองสุพรรณ แต่เดิมเรียกกันติดปากว่าพระเครื่องเมืองขุนแผน ประกอบกับพระพุทธคุณและประสบการณ์ต่างๆว่าเมื่อใส่พระขุนแผนแล้วนั้น จะมีความเมตามหานิยมและอยู่ยงคงกระพันเช่นเดียวกับขุนแผน จึงได้รับการขนานนามติดปากว่า “พระขุนแผน” นั่นเอง 
องค์นี้เป็นพิมพ์หน้ามงคลใหญ่ เอกลักษณ์พระพุทธศิลป์สุโขทัย มีความล่ำสันแต่อ่อนช้อยงดงาม ตามแบบสกุลช่างสายราชวงศ์พระร่วง พิมพ์นี้พระสวยคุณค่าทางศิลปะงดงามมากๆครับ
Visitors: 341,642